EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: เสริมประสบการณ์ การทำเคารพผู้ใหญ่

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล2 / 4ขวบ     เวลา: 20นาที นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์

บันทึกหลังจากการจัดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 1



สร้างโดย: นิศารัตน์ บุญยืน | เมื่อ: 21-04-2022 18:45

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

ต่อตนเอง เด็กมีความภาคภูมิใจในการแสดงออกถึงมารยาทที่ดีในการเคารพ กราบไหว้ผู้ใหญ่ที่เหมาะสม/ต่อผู้อื่น ผู้อื่นให้คำชื่นชนในการแสดงออกในมารยาทในการเคารพ กราบไหว้ผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม/ต่อสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมบรรยากาศในการแสดงออกต่อผู้ใหญ่ ทำให้สิ่งแวดล้อมในขณะนั้นมีความสุขต่อจิตใจของเด็กและผู้ใหญ่/ต่อการเรียนรู้ เด็กได้ใช้ทักษะEFเพื่อต่อยอดในการลงมือทำอย่างเป็นขั้นตอน

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เด็กได้เรียนรู้และคิดมารยาทในการทำความเคารพ การกราบ การไหว้ต่อผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

เด็กมีทักษะในการทำความเคารพผุ้ใหญ่ การกราบ การไหว้ อย่างเหมาะสม

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

เด็กสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมตามวัย

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เด็กสามารถจำเพื่อใช้ มีความคิดการไตร่ตรอง จดจอ ควบคุมอารมณ์ วางแผน ลงมือทำ ประเมินตนเองตามเป้าหมายได้ โดยการเมื่อเจอผู้ใหญ่ก็ต้องทำความเคารพ กราบไหว้อย่าเหมาะสม

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เรียนรู้ถึงมารยาทในการทำความเคารพ กราบ ไหว้ ผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม

ผ่านกิจกรรม:

เสริมประสบการณ์ การทำความเคารพผู้ใหญ่

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ อื่นๆ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

ฝึกกล้ามเนื้อมือมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การทรงตัว การประสานสัมพันธ์กันระหว่างประสาทสัมผัสมือ ตา

อารมณ์-จิตใจ

มีการควบคุมอารมณ์ จิตใจ จดจอใส่ใจ มีความสุขในสิ่งที่ทำด้วยตนเอง

สังคม

มีมารยาทต่อตนเองและผู้อื่นเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

สติปัญญา

มีการเรียนรู้จดจำ ไตร่ตรอง ใส่ใจ ควบคุมอามรณ์ วางแผน นำไปใช้ประเมินตนเองตามเป้าหมาย ได้อย่างเหมาะสม

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ในการทำความเคารพผู้ใหญ่ ในการกราบ ไหว้อย่างเหมาะสมตามวัยได้อย่างสม่ำเสมอ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กมีประสบการณ์เดิม การสวัสดี ทักทาย แบบไม่เหมาะสมและไม่สมำเสมอ

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กเรียนรู้มารยาทในการทำความเคารพผู้ใหญ่ กราบไหว้อย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ชื่อกิจกรรม การทำความเคารพผู้ใหญ่ อย่างเหมาะสม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 จุดประสงค์ 1. ฝึกการทําความเคารพผูู้ใหญ่ได้อย่างเหมาะสม 2. ร่วมสนทนากับครูและเพื่อนได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 1. สาระที่ควรเรียนรู้ 2. ประสบการณ์สําคัญ 1.1การปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการทำความเคารพผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม 2.1การฝึกปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการทําความเคารพผูัใหญ่อย่างเหมาะสม 2.2การแสดงความคิดเห็นและตอบคําถาม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
4 ิวิธีดําเนินกิจกรรม 1. ครูนําภาพเกี่ยวกับมารยาทในการทําความเคารพผู้ใหญ่มาให้เด็กดู แล้วสนทนา ซักถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามมารยาทไทย (การกราบ การไหว้ ผู้ใหญ่) 2. ครูแนะนําให้เด็กฝึกปฏิบัติจริงเกี่ยวกังการกราบ การไหว้ ผู้ใหญ่ในอิริยาบทที่แตกต่าง กันแล้วร่วมสนทนาว่าปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ 3. เดก็ร่วมร้องเพลงและทําทาง ประกอบเพลง “สวัสดี” และร่วมสรุปเกี่ยวกับมารยาท ไทย การกราบ การไหว้ผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
5 สื่อ 1. ภาพเกี่ยวกับมารยาทไทย 2. ตัวเด็ก 3. เพลง “สวัสดี”
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
6 การประเมิน 1. สังเกตการร่วมสนทนาและตอบคําถามแสดงความคิดเห็นของเด็กเกี่ยวกับการทำความเคารพผู้ใหญ่ที่เหมาะสม 2. สังเกตการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

การเป็นแบบอย่างที่ดี การกระทำซ้าๆเน้นย้ำทบทวน

สำหรับเด็ก:

การยกตัวอย่างที่ดีให้เด็กดูและชื่นชมในทันทีที่เด็กได้ปฏิบัติอย่างเหมาะสม

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

มีการให้เด็กได้เล่นถนนแห่งการเรียนรู้โดยการเดินทรงตัวตามตัวพยัญชนะ ตัวอักษรและตัวเลข เดินโดยมือแนบลำตัวและก้าวไปที่ละตัว จนครบ ต่างคนต่างเล่นโดยไม่ต้องจับเพื่อนโดยมีกฏกติกาข้อตกลง เพื่อความปลอดภัยลดการเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และมีความเป็นระเบียบ ของแต่ละคน

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

มีการเล่านิทานและถามคำถามให้เด็กตอบในความคิดอย่างอิสระ ที่อยู้ในเนื้อเรื่อง

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

มีการจัดกิจกรรมจิตศึกษา นั่งสมาธิทบทวนสิ่งที่ตนเองกำลังจะทำให้จิตใจกลับมาอยู่กับตัวเราเอง มีการให้เด็กเล่าเรื่องที่อยากจะเล่าให้ฟัง โดยมีเด็กคนอื่นๆช่วยสรุปเรื่องที่ฟังจากเพื่อน