EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: เสริมประสบการณ์

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 3     เวลา: 20นาที นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: จินดา อินทร์แผลง | เมื่อ: 22-04-2022 14:03

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กปฐมวัยมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ที่มีความสำคัญกับชีวิตประจำวัน

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ รู้จักมีเหตุผลในการโต้ตอบคำถาม จำแนก เปรียบเทียบ จับกลุ่ม ได้

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

เพื่อให้เด็กปฐมวัยสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำได้

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เพื่อให้เด็กปฐมวัยสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในการทำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผ่านกิจกรรม:

เสริมประสบการณ์ โดยการเล่านิทาน หรือแสดงบทบาทสมมติ การยกตัวอย่าง การสาธิต

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

เด็กได้เคลื่อนไหวในการทำกิจกรรม

อารมณ์-จิตใจ

เด็กกล้าแสดงออกทางความคิด สนุกสนานผ่านการแสดงบทบาทสมมติ

สังคม

เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม

สติปัญญา

เด็กได้คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา การโต้ตอบคำถาม

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กมีการคิดวิเคราะห์ สามารถโต้ตอบคำถาม และปฏิบัติด้วยตนเองทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กสามารถเล่าประสบการณ์เดิมได้และสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่เพิ่ม โดยครูได้สังเกตและบันทึกคำพูดของเด็กได้ในการโต้ตอบคำถามที่เด็กได้แสดงออกมา

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

ทำให้เด็กปฐมวัยรู้ว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์นัั้นไม่ใช่แค่ตัวเลขอย่างเดียวที่เด็กพบเจอ แต่รวบถึงการคิด การใช้เหตุผล การจำแนก เปรียบเทียบ การจับกลุ่ม การเรียงลำดับ และอีกหลายอย่างมากมายซึ่งเด็กจะพบเจอเมื่ออยู่ในระดับชั้นที่สูงขึ้นไป

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน โดยการเล่านิทาน เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ และกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมถัดไป
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด ควบคุมอารมณ์ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
2 การดำเนินกิจกรรม โดยครูสาธิต และยกตัวอย่างให้กับเด็กได้แสดงบทบาทสมมติ เพื่อให้เด็กมีส่วนร่่วมในการทำกิจกรรม และได้สนุกสนานผ่านการเล่นกิจกรรม
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ
3 สรุปการดำเนินกิจกรรม โดยครูให้เด็กๆสรุปกิจกรรมที่เล่นผ่านกระบวนการโต้ตอบคำถามระหว่างการเล่นของเด็ก ความรู้ที่เด็กได้รับ และเด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เพื่อให้เด็กเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง มุ่งเป้าหมาย
4 การประเมินผล ผ่านกระบวนการเล่นและการโต้ตอบคำถาม การนำไปใช้ การสัมภาษณ์ การสังเกตระหว่างที่เด็กทำกิจกรรม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์เพิ่มเติมว่าไม่ได้เกี่ยวกับตัวเลขอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการจำแนก การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม และอื่นๆอีกมากมายซึ่งเด็กจะได้ทักษะเหล่านั้นเมื่ออยู่ในระดับชั้นที่สูงขึ้นไป
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

นิทาน

สำหรับเด็ก:

อุปกรณ์ ไม้บล็อค บล็อคพลาสติก อุปกรณ์ต่างๆภายในห้องเรียน รวมทั้ง ตัวเด็ก

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

เด็กสมาธิหยิบ่จับอุปกรณ์ที่อยู่ให้ห้องเรียนเพื่อประกอบการทำกิจกรรมได้

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

เด็กสามารถคิด แก้ปัญหาและสำรวจอุปกรณ์ ตามคำสั่งที่ครูบอกได้อย่างถูกต้อง

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ให้นักเรียนทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อให้เด็กเกิดความสามัคคีและทำงานร่วมกัน