EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: การพับรถกระดาษ

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 2     เวลา: 15-20 นาที นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสาวโชติกา จันต๊ะอุตม์ | เมื่อ: 23-04-2022 13:46

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

-เด็กสามารถทำงานกับผู้อื่นได้ -เด็กมีความภูมิใจในผลงานของตนเอง

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

เด็กสามารถพับรถกระดาษได้

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

-เด็กสามารถเล่นรถกระดาษได้ -เด็กสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เด็กสามารถคาดคะเนในการเล่นรถกระดาษได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

การลงมือปฏิบัติจริง

ผ่านกิจกรรม:

การฝึกปฏิบัติพับรถกระดาษ นำไปทดลองเล่นจริง

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในการวิ่งตาม และกล้ามเนื้อมัดเล็ก มือ และตาประสานสัมพันธ์กัน

อารมณ์-จิตใจ

เด็กมีความสุข สนุกสนานในการเล่น

สังคม

เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน รู้จักการรอคอยและการแบ่งปัน

สติปัญญา

เด็กได้เรียนรู้การทำงานเป็นขั้นตอน กำหนดการคาดคะเนการเป่ารถกระดาษให้ไปได้ใกล้ และไกล

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

-เด็กสามารถพับรถกระดาษได้ -เด็กเล่นรถกระดาษกับเพื่อนได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

การพับรถกระดาษได้ นำไปทดลองเล่นกับเพื่อนๆ

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

-เด็กได้ทดลองคาดคะเนว่ารถจะแล่นไปได้ระยะแค่ไหน จะใกล้หรือไกลเท่าใด -เด็กมีการทดลองเปรียบเทียบกับเพื่อนๆ

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูนำรถกระดาษมาให้เด็กๆดู แล้วถามเด็กๆว่า นี่คืออะไรเอ่ย เมื่อเด็กๆตอบคำตอบที่กลากหลายแล้ว ครูจึงบอกว่า สิ่งนี้คือรถกระดาษ สามารถใช้เล่นได้บนพื้นห้องแนวราบ ครูสาธิตขั้นตอนในการพับรถกระดาษให้เด็กๆดู ขั้นตอนการนำเด็กเข้าสู่ความสนใจ และเห็นคุณค่าของรถกระดาษ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
2 ครูชวนเด็กๆมาพับรถกระดาษ ครูนำอุปกรณ์มาให้เด็กๆดู ถามว่าใครอยากทดลองทำบ้าง การกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก
สร้างเสริม EF ด้าน: ริเริ่มและลงมือทำ
3 ครูให้เด็กๆแบ่งกลุ่ม นำอุปกรณ์ให้เด็กๆที่พับรถกระดาษ ให้เด็กทำตามขั้นตอนที่ครูสาธิตให้ดู การกล้าปฏิบัติจริง ทำตามขั้นตอนได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ
4 ให้เด็กๆเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย ครูให้เด็กออกมาแสดงผลงานของตนเอง ครูให้เด็กๆทดลองเล่นรถกระดาษบนพื้นห้องกับเพื่อนๆ ถ้าเพื่อนคนใดที่ไม่ได้พับ ก็แบ่งปันให้เพื่อนเล่น มีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง รู้จักเล่นรถกระดาษได้ รู้จักรอคอย และแบ่งปันให้ผู้อื่น
สร้างเสริม EF ด้าน: ติดตาม ประเมินตนเอง
5 การกำหนดข้อตกลงในการเล่น เมื่อถึงหมดเวลาแล้ว ให้เก็บชิ้นงานรถกระดาษให้เรียบร้อย ประเมินเวลาเล่นตามข้อตกลง เก็บของเล่นให้เรียบร้อย
สร้างเสริม EF ด้าน: ติดตาม ประเมินตนเอง

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

-รถกระดาษ (ตัวอย่าง) อุปกรณ์สำหรับการสาธิต -กระดาษ A4 -กรรไกร -กาว -สีเทียน

สำหรับเด็ก:

-กระดาษ A4 -กรรไกร ปลายมน -กาว -สีเทียน

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

พื้นที่นั่งเรียนในห้องอนุบาล มีอากาศถ่ายเทได้ดี บริเวณที่เล่นเป็นพื้นที่โล่งกว้างเหมาะสำหรับเล่นรถกระดาษได้

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

พื้นที่นั่งเรียนกว้าง เหมาะสมกับจำนวนเด็ก บริเวณที่ล้างมืออยู่ใกล้สะดวกสบายในห้องเรียน

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ภายในห้องเรียน บรรยากาศให้ความอบอุ่น เด็กมีน้ำใจ ครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก มีปฏิสัมพันธ์กันดี ในห้องเรียนมีพื้นที่กว้างขวางเหมาะกับจำนวนเด็กในห้องเรียน เด็กเล่นร่วมกันสนุกสนาน รู้จักแบ่งปันซึ่งกันและกัน