EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: กิจกรรมสร้างสรรค์ครอบครัวของฉัน

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล2     เวลา: 40 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางลักคณา ช้างพินจ | เมื่อ: 24-04-2022 11:54

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

ครอบครัวประกอบไปด้วยสมาชิกหลายคน เช่น พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง อา ลุง น้า ป้า ตา ยาย ฯลฯ ซึ่งมีทั้งครอบครัวขนาดเล็กและใหญ่ ทุกคนในครอบครัวต่างมีความรักให้แก่กัน จึงต้องมีกิจกรรมสานสัมพันธ์ความรักในครอบครัวอยู่เสมอ เพื่อสร้างความอบอุ่นในครอบครัวให้ยั่งยืนตลอดไป

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

ครอบครัวหลายแบบ -ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว -หน้าที่ของคนในครอบครัว -วันสำคัญของครอบครัว -กิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

เพื่อให้เด็กมีการรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตน -เพื่อให้เด็กมีสุนทรียภาพ ดนตรี -เพื่อให้เด็กการมีปฏิสัมพันธ์ มีวินัย มีส่วนร่วม และบทบาทสมาชิกของสังคม เพื่อให้เด็กการใช้ภาษา -เพื่อให้เด็กจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

เพื่อให้นำไปใช้ปฏิบัติในข้อตกลงของห้องเรียนได้ -เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติตนตามสุขอนามัย สุขนิสัยที่ดีในกิจวัตรประจำวัน

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เพื่อให้เด็กนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

ให้เด็กเรียนรู้: เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อคนในครอบครัวและสร้างความอบอุ่นในครอบครัว และเพื่อให้เด็กการมีปฏิสัมพันธ์ มีวินัย มีส่วนร่วม และบทบาทสมาชิกของสังคม เพื่อให้เด็กการใช้ภาษาได้เหมาะสม

ผ่านกิจกรรม:

กิจกรรมสร้างสรรค์วาดภาพระบายสีภาพครอบครัวของฉัน

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ อื่นๆ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่เล็กและตาให้สัมพันธ์กัน

อารมณ์-จิตใจ

ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

สังคม

ส่งเสริมการแบ่งปันกันในกลุ่ม และการรอคอย

สติปัญญา

ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการสำหรับนักเรียน

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

ร่างกาย: พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่เล็กและตาให้สัมพันธ์กัน อารมณ์-จิตใจ: ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ สังคม: ส่งเสริมการแบ่งปันกันในกลุ่ม และการรอคอย สติปัญญา: ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

1. วางแผน ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติได้ 2. แสดงออกตามความคิดสร้างสรรค์ได้ 3. อธิบายผลงานของตนเองที่ทำสำเร็จได้

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กสามารถคิดและลำดับความสำคัญของญาติและบุคคลในครอบครัวได้ถูกต้อง

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 กิจกรรมสายสัมพันธ์ในครอบครัว ร้องเพลงพี่น้องกัน สนทนาเกี่ยวกับเนื้อเพลงพี่น้องกัน ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสายใย ของครอบครัว เพื่อให้เด็กรู้สมาชิกในครอบครัวตนเอง เพื่อให้เด็กร้องเพลงครอบครัวได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 ครูให้เด็กๆ ออกมาเล่าเกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัวของตนเอง และครูอธิบาย ว่า ครอบครัวมีหลายแบบ บางครอบครัวเป็นครอบครัวเล็ก ที่มีสมาชิกน้อย ได้แก่ พ่อ แม่ และลูก บางครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่ ที่มีสมาชิกอยู่ร่วมกันหลายคน ซึ่งมี พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น แล้วให้เด็กคิดว่าครอบครัวของตนเองเป็นแบบไหน เพื่อให้เด็กบอกจำนวนสมาชิกในครอบครัวตนเองได้ และบอกลักษณะของครอบครัวแต่ละแบบได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 กิจกรรมการปฏิบัติตนต่อญาติพี่น้อง – ครูนำตุ๊กตาบุคคลในครอบครัวที่มีวัย ต่างกันมาให้เด็ก ๆ สังเกต - เด็ก ๆ ร่วมกันเล่นบทบาทสมมติเป็น ครอบครัว - ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม เพื่อให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่มได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.เพลง บ้านของฉัน 2.เครื่องเคาะจังหวะ 3.เกมต่อภาพครอบครัวของฉัน

สำหรับเด็ก:

1.หนังสือนิทาน 2.ดินน้ำมัน 3.มุมบทบาทสมมุติ 4.กระดาษ 5.สี

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

-เครื่องเล่นสนาม -เกมการศึกษา

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร 2.ครูวาดภาพแผนภูมิประกอบความสัมพันธ์ของครอบครัว แล้วให้เด็กออกมาติดบัตรคำให้ตรงกับบัตรภาพบุคคลในครอบครัว

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

1.ครูแนะนำเกม ต่อชิ้นส่วนภาพบุคคลในครอบครัวของฉัน ให้เด็กดูพร้อมสาธิตวิธีการเล่น 2.เด็กเล่นเกมชุดใหม่สลับกับเกมที่เคยเล่นมาแล้วโดยครูให้คำแนะนำและดูแลความถูกต้องในการเล่น 3.เมื่อได้ยินสัญญาณเด็กช่วยกันเก็บเกมเข้าที่ให้เรียบร้อยเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม