EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ผลไม้รวม

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 2     เวลา: 60 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสาวปัทมล บุตรดาจันทร์ | เมื่อ: 26-04-2022 16:05

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

ต่อตนเอง

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เพื่อส่งเสริมการรับรู้เรืองสี

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

เพื่อส่งเสริมทักษะทางการจำแนก

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เรียนรู้การตัดต่อรูปผลไม้ เพื่อจัดคู่ จำแนก จัดกลุ่ม

ผ่านกิจกรรม:

การร้องเพลง “แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย ส้ม” สื่อผลไม้ของจริง การเล่นเกมต่อชิ้นส่วนผลไม้ให้เป็นรูปสำเร็จ

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา อื่นๆ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การเล่นเกมต่อชิ้นส่วนผลไม้

อารมณ์-จิตใจ

การทำงานร่วมกับผู้อื่นผ่านกิจกรรมกลุ่ม

สังคม

ได้เรียนรู้สังคมของการช่วยเหลือซึ่งกันและกันถึงจะเป็นผลสำเร็จ

สติปัญญา

ใช้ความรู้เกี่ยวกับผลไม้มาจำแนกและต่อชิ้นส่วนผลไม้ได้สำเร็จ

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

การจัดคู่ จำแนก จัดกลุ่ม ผลไม้ การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ปัญหาในการเล่น


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

คุณครูเริ่มสำรวจความรู้พื้นฐานของรักเรียนแต่ละคนด้วยการใช้คำถามและให้เด็กตอบและเล่าถึงลัษณะของผลไม้ที่นักเรียนตอบ พร้อมกับคุณครูบันทึกประสบการณ์ของนักเรียน

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

จากที่นักเรียนรู้จักผลไม้แล้วในกิจกรรมนี้จะให้นักเรียนได้จำแนกผลไม้ จำแนกสี จัดกลุ่มของผลไม้ประเภทเดียวกัน ต่างกัน

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 -คุณครูร้องเพลง “แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย ส้ม” แล้วใหนักเรียนมานั่งเป็นวงกลม -พร้อมกับถามคำถามเพื่อทบทวนและสำรวจความรู้พื้นฐานของนักเรียน เพื่อสำรวจ ความรู้และประสบการณ์พื้นฐานของนักเรียน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด
2 -คุณครูแนะนำสื่อให้นักเรียนรู้จักซึ่งเป็นสื่อของจริง พร้อมทั้งบอกบอกประโยชน์และโทษอบงผลไม้ -คุณครูบอกวิธีการเล่มเกมต่อชิ้นส่วนผลไม้และสาธิตวิธีการเล่นให้นักเรียนดู -ครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียน กลุ่มละ3-4 คน -ครูแจกสื่ออุปกรณ์การเล่นให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ช่วยต่อรูปผลไม้ให้สำเร็จ เพื่อให้นักเรียนได้จำแนก จัดกลุ่มผลไม้ แยกชิ้นส่วนจากสี และทำงานร่วมกันเป็นทีมได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 ให้นักเรียนช่วยกันเก็บสื่อ อุปกรณ์การเล่นเกมมาเก็บเข้าที่ แล้วให้นักเรียนพูดถึงความรู้สึกของตนเองหลังได้เล่นเกมนี้ เพื่อให้นักเรียนได้ติดตาม ผลการทำงานของตนเองและฝึกการเล่นแล้วเก็บเข้าที่ถึงจะเสร็จสิ้นสุดการทำงานต่างๆเป็นการปลูกฝังให้เขาเล่นแล้วรู้จักเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด ติดตาม ประเมินตนเอง

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

สื่อผลไม้ของจริง สื่อชิ้นส่วนตัวต่อผลไม้ เพลง “แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย ส้ม”

สำหรับเด็ก:

-

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดสภาพแวดล้อมให้กว้างขวาง เหมาะกับการโยกร่างกายตามเพลง และการทำกิจกรรมกลุ่ม

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

มีสื่อรูปผลไม้รอบห้องให้นักเรียนได้สังเกต

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

จัดกลุ่มจากการพิจารณาของคุณครู ความเหมาะสมในการเข้ากลุ่มของนักเรียนแต่ละคน เพื่อให้เล่นเกมสนุกสนานจากการเล่นกับเพื่อสนิทของเขา