EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: เสริมประสบการณ์

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 3     เวลา: 40 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสาวเบญจวรรณ บรรพต | เมื่อ: 29-04-2022 16:04

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

รู้จักชื่อของอวัยะในร่างกาย

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

รู้จักชื่ออวัยวะสำคัญของร่างกายได้แก่ ตา หู จมูก ปาก มือ เท้า ผม เป็นต้น

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

รู้จักชื่อและบอกหน้าที่ของอวัยะนั้นได้

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

รู้จักอวัยวะสำคัญของร่างกาย และหน้าที่ของอวัยวะ

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

รู้จักชื่ออวัยวะในร่างกาย

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

1.ชื่ออวัยวะสำคัญของร่างกายได้แก่ ตา หู จมูก ปาก มือ เท้า ผม เป็นต้น 2.หน้าที่สำคัญของอวัยวะในร่างกาย

ผ่านกิจกรรม:

1.การสนทนา 2.การเล่านิทาน 3.การท่องคำคล้องจอง 4.การร้องเพลง

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

ได้เล่นและทำกิจกรรมผ่านกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่

อารมณ์-จิตใจ

มีความสุข สนุกสนานผ่านเสียงเพลง มีจินตนาการและความกล้าแสดงออก

สังคม

ได้เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน กล้าสนทนาโต้ตอบเรื่องราวได้

สติปัญญา

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนทนาโต้ตอบจากเรื่องที่ฟังได้

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

1.เด็กบอกชื่ออวัยวะในร่างกายนั้นได้ 2.เด็กบอกหน้าที่ของอวัยวะในร่างกายได้ 3.เด็กมีความสุข สนุกกับการทำกิจกรรม


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ไม่รู้หน้าที่ของอวัยวะ

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

การรู้หน้าที่ของอวัยวะในร่างกาย และการดูแล

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1.ครูเล่านิทานเกี่ยวกับการปวดฟัน วิธีการรักษาความสะอาดฟัน เด็กแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับนิทาน 1.เพื่อรู้จักชื่อและการดูแลอวัยวะในร่างกาย
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 ขั้นดำเนินกิจกรรม 1.เด็กและครูร่วมกันร้องเพลงและทำท่าประกอบเพลง“จับไวไว” 2.เด็กและครูร่วมกันทบทวนชื่ออวัยวะสำคัญของ ร่างกายได้แก่ ตา หู จมูก ปาก มือ เท้า ผม เป็นต้น 3.เด็กสำรวจอวัยวะของตนเองและเพื่อนในห้องโดยเด็กทำท่าทางตามจินตนาการ 4.เด็กจับคู่กับเพื่อนแล้วเปรียบเทียบความแตกต่างของตนเองกับเพื่อนว่ามีอวัยวะในร่างกายอะไรที่เหมือนกันบ้างและมีอวัยวะในร่างกายอะไรที่ไม่เหมือนกันบ้าง 5.ขออาสาสมัครเด็ก 2 คนเด็กเปรียบเทียบ ลักษณะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่างกัน เหมือนกัน 6.ครูอธิบายการดูแลอวัยวะในร่างกาย บอก อธิบายเกี่ยวกับชื่อและความสัมพันธ์อวัยวะภายนอกร่างกายได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 ขั้นสรุป 1.เด็กและครูร่วมกันสรุป หน้าที่ และการดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะร่างกาย เพื่อให้เด็กรู้จักวิธีการดูแลอวัยวะในร่างกาย
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.นิทาน 2.บัตรภาพคำคล้องจอง 3.เพลง

สำหรับเด็ก:

1.นิทาน 2.บัตรภาพคำคล้องจอง 3.เพลง

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

1.จัดพื้นที่เมาะสมสำหรับทำกิจกรรม 2.จัดมุมประสบการณ์ที่หลากหลายให้เด็กได้เล่นและทำกิจกรรม

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงคสามคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้น

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้อบอุ่น ครูใช้คำพูดและท่าทางอย่างอบอุ่น สนใจและรับฟังความคิดเห็นของเด็ก รวมถึงกล่าวชมเชยเมื่อเด็กกล้าแสดงออก เพื่อเป็นการเสริมแรงทางบวก