EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ลูกข่างหลากสี

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล3     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสาวกุลวดี ใจคำ | เมื่อ: 18-03-2022 10:11 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 18-03-2022 11:03

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

รู้วิธีทำลูกข่างจากแผ่นซีดีและลูกแก้ว

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การวาดเขียนและการตัด

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

วาดรูป ระบายสี ตัดกระดาษได้ นำของที่ไม่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

วิธีทำลูกข่างจากแผ่นซีดีและลูกแก้ว ออกแบบลวดลายของลูกข่างตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเองได้

ผ่านกิจกรรม:

ลูกข่างหลากสีที่เด็กออกแบบเอง

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการประสานสัมพันธ์ของมือ ตา

สติปัญญา

เด็กได้ฝึกการเขียน การออกแบบลวดลาย ฝึกคิดสร้างสรรค์

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กสามารถประดิษฐ์ลูกข่างจากแผ่นซีดีและลูกแก้วโดยออกแบบลวดลายของลูกข่างตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเองได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กรู้จักแผ่นซีดีและลูกแก้ว และเคยนำมาใช้งาน

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กสามารถประดิษฐ์ลูกข่างจากแผ่นซีดีและลูกแก้วโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองในการออกแบบลวดลาย

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูแนะนำกิจกรรม สอบถามประสบการณ์เดิมของเด็ก โดยหยิบอุปกรณ์ออกมาทีละชิ้นจากนั้นให้เด็กแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4คน ให้ตัวแทนกลุ่มมารับอุปกรณ์ จากนั้นครูสาธิตวิธีทำ สอบถามประสบการณ์เดิม แนะนำอุปกรณ์ สาธิตวิธีทำลูกข่าง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ
2 ให้เด็กทำลูกข่างโดยใช้แผ่นซีดีเป็นแบบวาดวงกลมลงบนกระดาษและตัดออกมา จากนั้นให้ออกแบบวาดภาพระบายสีตามจินตนาการของตนเอง เมื่อเสร็จแล้วใช้กาวติดแผ่นซีดีกับกระดาษวงกลมที่ระบายสีแล้วและทากาวบนลูกแก้ว แปะตรงรูบนแผ่นซีดี ให้เด็กได้ลงมือทำงานโดยใช้ความคิดและจินตนาการของตัวเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย
3 ให้เด็กๆหมุนลูกข่างแผ่นซีดีบนพื้นด้วยความเร็วต่างกัน และให้วางแผ่นซีดีเปล่าบนพื้น และให้หมุนลูกข่างแผ่นซีดีในรูของแผ่นซีดีเปล่า ให้เด็กสังเกตลักษณะของภาพบนแผ่นซีดี เมื่อหมุนด้วยความเร็วต่างกัน และการหมุนบนพื้นผิวที่ต่างกันจะเป็นอย่างไร
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย
4 ครูให้เด็กๆพูดถึงกิจกรรมว่าชอบหรือไม่อย่างไร จำวิธีได้ไหม ยากหรือง่าย พอใจผลงานหรือไม่ ทดลองหมุนแล้วเป็นอย่างไร ถ้าหมุนบนพื้นผิวต่างกันจะเป็นอย่างไร จากนั้นเก็บอุปกรณ์ สรุปผลการทำกิจกรรม ให้เด็กได้สะท้อนความคิด ความเข้าใจ ประเมินตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

แผ่นซีดี กาว ลูกแก้ว กระดาษ ดินสอ สี กรรไกร

สำหรับเด็ก:

แผ่นซีดี กาว ลูกแก้ว กระดาษ ดินสอ สี กรรไกร

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมกลุ่มได้อย่างสะดวกสบาย อากาศเย็นสบาย ไม่มีเสียงดังรบกวน

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

คอยให้กำลังใจและชมเชยผลงานของเด็กด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

การใช้ลวดลายแบบต่างๆเพื่อออกแบบลูกข่าง