EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 2     เวลา: 20 นาที นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: ยศวดี คำเหลือง | เมื่อ: 02-05-2022 13:59

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

- ทักษะการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และเคลื่อนที่ - ทักษะการสื่อสารความคิด ความรู้สึกของยืดหยุ่นความคิดของตนเองอย่างหลากหลาย แปลกใหม่ - ทักษะการจดจ่อใส่ใจ ยั้งคิดไตร่ตรอง

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เรียนรู้ในเรื่องสี

ผ่านกิจกรรม:

จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในหน่วย โลกสวยด้วยสีสัน ผ่านกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - เด็กทำกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น สะบัดมือ ยักไหล่ ย่ำเท้า และแบบเคลื่อนที่ เช่น เดินก้าวชิดเก้า กระโดด ตามจังหวะ และเมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้หยุดเคลื่อนไหวท่านั้นทันที - เด็กเคลื่อนไหวร่างกายประกอบอุปกรณ์ริบบิ้นสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง และสีแดง โดยเคลื่อนไหวประกอบเพลงตามจินตนาการประกอบริบบิ้น และเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณหยุด ให้หยุดเคลื่อนไหวและฟังคำสั่งจากครู ดังนี้ 1. รวมกลุ่มที่มีสีริบบิ้นสีเดียวกัน 2. แลกริบบิ้นสีกับเพื่อนที่อยู่ใกล้ 3. ชูริบบิ้นขึ้นเหนือศีรษะ 4. สะบัดริบบิ้นสีไปมา

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ

ทักษะปฏิบัติ: มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ อื่นๆ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

-พัฒนาทางด้านการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และเคลื่อนไหวเคลือนที่ - การทรงตัว - การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

อารมณ์-จิตใจ

- เด็กมีความสุขในการร่วมทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - เด็กได้ผ่อนคลายอารมณ์ - จิตใจ

สังคม

- เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนและคุณครู

สติปัญญา

- เด็กได้เรียนรู้เรื่องสี - เด็กได้ฝึกการปฏิบัติตามคำสั่ง

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

- เด็กสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วตามจินตนาการได้ - เด็กสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้อย่างถูกต้อง


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ประสบการณ์เดิมของเด็กอาจจะเคยพบเห็นสีต่างๆจากธรรมชาติหรือสิ่งต่างๆรอบตัว เช่น สีจากดอกไม้ สายรุ้ง ของเล่น ของใช้ เป็นต้น

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

ครูจัดกิจกรรมสีจากธรรมชาติว่าดอกไม้ชนิดต่างๆสามารถให้สีอะไรได้บ้าง เช่น ขมิ้น-สีเหลือง ใบเตย-สีเขียว อัญชัน-สีน้ำเงิน เป็นต้น

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ขั้นนำ - เด็กและครูกล่าวคำทักทาย ร้องเพลงสวัสดี - สนทนาพูดคุยก่อนเริ่มทำกิจกรรม เช่น ถามว่าเด็กๆทานข้าวเช้ามาหรือยัง เดินทางมาโรงเรียนกับใคร เป็นต้น เป็นการเตรียมตัวเด็กๆก่อนที่จะเริ่มการทำกิจกรรม
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ติดตาม ประเมินตนเอง วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
2 ขั้นสอน - เด็กทำกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น สะบัดมือ ยักไหล่ ย่ำเท้า และแบบเคลื่อนที่ เช่น เดินก้าวชิดเก้า กระโดด ตามจังหวะ และเมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้หยุดเคลื่อนไหวท่านั้นทันที - เด็กเคลื่อนไหวร่างกายประกอบอุปกรณ์ริบบิ้นสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง และสีแดง โดยเคลื่อนไหวประกอบเพลงตามจินตนาการประกอบริบบิ้น และเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณหยุด ให้หยุดเคลื่อนไหวและฟังคำสั่งจากครู ดังนี้ 1. รวมกลุ่มที่มีสีริบบิ้นสีเดียวกัน 2. แลกริบบิ้นสีกับเพื่อนที่อยู่ใกล้ 3. ชูริบบิ้นขึ้นเหนือศีรษะ 4. สะบัดริบบิ้นสีไปมา - เด็กเคลื่อนไหวอยู่กับที่และเคลื่อนที่ได้ - เด็กเคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสาความคิด ความรู้สึกของตนเองอย่างหลากหลายหรือแปลกใหม่ได้ - เด็กได้เรียนรู้เรื่องการปฏิบัติตามคำสั่ง
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ มุ่งเป้าหมาย
3 ขั้นสรุป - หลังปฏิบัติกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้เด็กได้พักผ่อนคลายกล้ามเนื้อในท่าที่สบาย - เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ให้พร้อมที่จะทำกิจกรรมต่อไป
สร้างเสริม EF ด้าน: ควบคุมอารมณ์ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
4 ขั้นติดตามและประเมินผล - ครูสังเกตเด็กในขณะทำกิจกรรมพร้อมบันทึกผล - เพื่อติมตามและประเมินผลพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน
สร้างเสริม EF ด้าน: ติดตาม ประเมินตนเอง วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

- เครื่องเคาะจังหวะ - เพลงบรรเลง - ริบบิ้นสีต่างๆ

สำหรับเด็ก:

- ริบบิ้นสีต่างๆ

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

มีการจัดสื่ออุปกรณ์ ริบบิ้น ให้เด็กได้ใช้ประกอบการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง เพื่อให้เด็กได้พัฒนาการคิดสร้างสรรค์ คิดยืดหยุ่นแปลกใหม่

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

จัดกิจกรรมโดยให้สัญญาณและให้คำสั่งต่างๆ เช่น สัญญาณเมื่อสั่งให้หยุด การใช้คำสั่ง เช่น จัดกลุ่มริบบิ้นที่เป็นสีเดียวกัน เป็นต้น เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ทักษะการยั้งคิด ไตร่ตรอง การจดจ่อใส่ใจ มุ่งเป้าหมาย เป็นต้น

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

สร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลาย สนุกสนาน ไม่เครียด ให้เด็กได้มีอิสระอย่างเต็มที่