EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: การทำสีผสมอาหารจากพืช

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 3     เวลา: 40 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสาวมณีรัตน์ รุ่งอินทร์ | เมื่อ: 02-05-2022 16:20

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

นำสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติรอบตัวเด็กมาใช้ในการเรียนรู้

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เด็กได้รับความรู้เกี่ยวสีที่ได้จากธรรมชาติ สีจากพืชเป็นสีที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

เด็กได้สกัดสีจากใบเตย ดอกอัญชัญ ขมิ้น

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เด็กเกิดทักษะในการสังเกต ลักษณะส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงโดยใช้ประสาทสัมผัส

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เรียนรู้วิธีการสกัดสีจากพืช ว่าสีที่ได้จากการสกัดออกมาได้สีอะไร

ผ่านกิจกรรม:

การทำสีผสมอาหารจากพืช

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ลองผิดลองถูก ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

เด็กได้ใช้มือในการตำใบเตย ดอกอัญชัญ ขมิ้นให้ละเอียด และใช้มือในการคั้นน้ำจากพืชที่ตำ

อารมณ์-จิตใจ

เด็กเกิดความสนใจในการทำกิจกรรม ได้ช่วยเหลือกันกับเพื่อนๆภายในกลุ่ม

สังคม

เด็กๆทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆได้ สามารถทำความสะอาดและเก็บของเข้าที่ได้เรียบร้อย

สติปัญญา

ได้พูดสนทนาโต้ตอบ สมารถบอกลักษณะส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงโดยใช้ประสาทสัมผัส ตัดสินใจในเรื่องง่าายๆได้ มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม ค้นหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยได้

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

1.บอกลักษณะส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงของสีจากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสได้ 2.ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยๆต่างๆ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

การที่เด็กได้เดินสำรวจต้นไม้ ใบไม้บริเวณโรงเรียนแล้วเด็กได้เห็นสีของใบไม้ที่มีความแตกต่างของสี

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองในการสกัดสีจากพืช ได้คิดและช่วยกันวางแผนกันภายในกลุ่ม

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูนำบัตรภาพขนมไทย มาให้เด็กดู และเอากระดาษที่มีตัวเลข 1-15 มาปะทับไม่ให้เห็นภาพขนมด้านหลัง ให้เด็กนับจำนวน 1-15 แล้วถามเด็กว่าเด็กๆอยากรู้ไหมว่าด้านหลังตัวเลขนี้มีภาพอะไรซ่อนอยู่ เด็กอาสาสมัครออกมาเปิดตัวเลขทีละใบแล้วให้เพื่อนๆช่วยกันทายว่าภาพข้างหลังบัตรตัวเลขคือภาพอะไร เปิดบัตรตัวเลขออกให้หมด ให้เด็กดูว่าภาพที่ทายถูกหรือไม่ ครูสนทนาซักถามเกี่ยวกับภาพ เด็กได้ใช้ความจำในการจำรูปภาพ และทักษะการสังเกต
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 1. ครูสนทนากับเด็ก ๆ ว่าสีที่ใส่ในขนมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ โดยการได้มาจากพืช 2. ครูนำตะกร้าที่ใส่พืชต่าง ๆ ดังนี้ 1) ใบเตย 2) ดอกอัญชัน 3) ขมิ้น มาวางไว้หน้าห้องและหยิบพืชเหล่านั้นให้เด็กดูว่าสิ่งเหล่านั้นมีชื่อว่าอะไร 3. ครูแบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาหยิบตะกร้าที่อยู่หน้าห้องไปกลุ่มละ 1 ตะกร้า 4. ครูบอกเด็กว่าวันนี้ครูจะให้เด็กทำสีผสมอาหารจากพืชเหล่านี้ ครูให้แต่ละกลุ่มลอง คาดคะเนสีที่จะได้จากพืชที่ได้ไป 5. เด็กทดลองทำสีผสมอาหารจากพืช ดังนี้ กลุ่ม 1 เด็ดใบเตยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นนำมาตำให้ละเอียด นำใบเตยที่ตำแล้วมาขยำกับน้ำสะอาด จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ กลุ่ม 2 นำดอกอัญชันมาตำให้ ละเอียด นำใบเตยที่ตำแล้วมาขยำกับน้ำสะอาด จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ กลุ่ม 3 นำขมิ้นมาปอกเปลือก ออกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นนำมาตำให้ละเอียด นำขมิ้นที่ตำแล้วมาขยำกับน้ำสะอาด จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ 1.การคาดเดาหรือการคาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล 2.การมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล 3.การสืบเสาะหาความรู้เพื่อค้นหาค้าตอบของข้อสงสัยต่าง ๆ
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 เด็กแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทดลองโดยการนำสีผสมอาหารที่ได้มาระบายลงไปในแบบบันทึกผลการทดลอง การมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลและนำเสนอ
สร้างเสริม EF ด้าน: ติดตาม ประเมินตนเอง มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1. ภาพขนมไทยที่มีบัตรภาพตัวเลข 1 - 15 ปะทับไว้ 2. ใบเตย 3. ดอกอัญชัน 4. ขมิ้น 5. มีด 6. ครก 7. กระชอน 8. แก้วน้ำใส 9. ตะกร้า 10. พู่กัน 11. กระดาษแบบบันทึกผลการทดลอง

สำหรับเด็ก:

1. ภาพขนมไทยที่มีบัตรภาพตัวเลข 1 - 15 ปะทับไว้ 2. ใบเตย 3. ดอกอัญชัน 4. ขมิ้น 5. มีด 6. ครก 7. กระชอน 8. แก้วน้ำใส 9. ตะกร้า 10. พู่กัน 11. กระดาษแบบบันทึกผลการทดลอง

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

เกิดความปลอดภัยในการทำกิจกรรม สะอาดและถูกสุขอนามัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

กระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิด เกิดความรู้สึกอยากที่จะเรียนรู้

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

จัดบรรยากาศให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย ให้ช่วยเหลือ แบ่งปันกันภายในกลุ่ม