EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: เกมการศึกษา

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 3     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสาวกฤษณา พุ่มดวง | เมื่อ: 02-05-2022 22:12

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เพื่อให้เด็กสามารถเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เพื่อให้เด็กสามารถจดจำเงื่อนไขและกติกาการเล่นเกมได้

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เพื่อให้เด็กสามารถคิดไตร่ตรองขณะเล่นเกมได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เรียนรู้ในการยอมรับและเคารพการตัดสินใจของผู้อื่น และเพื่อให้เด็กรู้จักยืดหยุ่นทางความคิดและรับฟังคำแนะนำจากเพื่อนร่วมเล่น

ผ่านกิจกรรม:

เกมการศึกษา

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

อารมณ์-จิตใจ

เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม

สังคม

เด็กมีการวางแผนการเล่นเกมร่วมกับเพื่อน

สติปัญญา

เด็กได้จดจำเงื่อนไขและกฎกติกาการเล่นเกม

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กรู้จักการวางแผนและแก้ปัญหาในการจดจำภาพให้ได้มากที่สุดจนประสบความสำเร็จ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กเกิดการไตร่ตรองขณะเล่น เพราะต้องตัดสินใจว่าภาพใดเหมือนกัน ก่อนเด็กจะได้เรียนรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เพื่อให้เด็กเห็นเป้าหมายอย่างชัดเจน และสามารถจดจำภาพที่เหมือนกันได้มากที่สุด

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูสนทนาเกี่ยวกับภาพเกมจับคู่ภาพเหมือน เพื่อให้เด็กได้รู้จักวิธีการเล่นเกี่ยวกับเกมจับคู่ภาพเหมือน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 แนะนำวิธีเล่นเกมจับคู่ภาพเหมือน ดังนี้ - แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 4 คน - ครูแจกภาพเหมือนกัน ให้เด็ก ๆ ทุกคน - เด็กสังเกตภาพของตนเอง - ครูเปิดเพลงที่เด็ก ๆ ชอบ ให้เด็กเต้นรำตามจังหวะไปรอบ ๆ วง ครูปิดเครื่องเสียง เด็ก ๆ วิ่งหาคู่ของตนเองที่มีรูปภาพเหมือนกัน จับได้แล้วให้หาที่นั่ง ครูตรวจว่าถูกต้องหรือไม่ - ทำกิจกรรมซ้ำ ๆ จนเด็กมีทักษะการสังเกต และจับคู่ได้ถูกต้อง เพื่อให้เด็กเกิดทักษะการสังเกต
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรมเกมการศึกษาจับคู่ภาพเหมือน ทบทวนสิ่งต่างๆที่เด็กๆได้ลงมือกระทำในการเล่นเกม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

เครื่องเสียง

สำหรับเด็ก:

ภาพเกมการศึกษาจับคู่ภาพเหมือน

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

เด็กมีการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ขณะเล่นทำกิจกรรมเกมการศึกษาจับคู่ภาพเหมือน

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

เด็กเกิดการคิดไตร่ตรองขณะทำกิจกรรมเกมการศึกษาจับคู่ภาพเหมือนและเด็กรู้จักยืดหยุ่นความคิดและรับฟังคำแนะนำจากเพื่อนร่วมเล่นกิจกรรม และเด็กเกิดการวางแผนร่วมกับเพื่อน

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ของตัวเองในการทำกิจกรรมเกมการศึกษา