EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: เสริมประสบการณ์(ต้นไม้ที่รัก)

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาลปีที่ 2     เวลา: 15 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นนทพร เสวิสิทธิ์ | เมื่อ: 03-05-2022 11:23

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

ปลูกฝังให้เด็กแสดงออกต่อสิ่งแวดล้อม รักษ์ธรรมชาติ ไม่ทำลาย

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

ประโยชน์ของต้นไม้ 1.ทำให้อากาศสดชื่น 2.เป็นที่อยู่ของสัตว์ 3.ทำยารักษาโรค

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

มีทักษะในการดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัวเอง

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

การดูแลรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโต ปลูกต้นไม้ที่ตนเองต้องการปลูกและ

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

ต้นไม้มีความสำคัญ คือ มีร่มเงาให้คน และสัตว์ได้อาศัย ใช้เป็นยารักษาโรค ให้อากาศที่บริสุทธิ์ ที่ให้ในการหายใจ

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

ขั้นตอนหรือวิธีการปลูกต้นไม้

ผ่านกิจกรรม:

ปลูกต้นไม้

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

เด็กได้ลงมือปลูกต้นไม้ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อมัดใหญ่จากการพรวนดิน รดน้ำ

อารมณ์-จิตใจ

เด็กมีความภาคภูมิใจในการลงมือปลูกต้นไม้ของตนเอง

สังคม

ได้ร่วมมือกับเพื่อนและครูปฏิบัติ

สติปัญญา

รู้จักการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของต้นไม้ที่เจริญเติบโต เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการปลูกต้นไม้

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กจะเรียนรู้ว่าการที่จะให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ต้องมีการรดนำ้ พรวนดิน และใส่ปุ๋ย และช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชอย่างไร


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กบางคนอาจมีประสบการณ์ในการปลูกต้นไม้มาบ้างแต่อาจจะไม่ลงลึก เช่นเคยปลูกต้นไม้จากต้นกล้า ยังไม่ผ่านเคยเพาะเมล็ด ก็จะได้รับประสบการณ์ เพิ่มขึ้น รู้จักการรอคอย

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

กิจกรรมการปลูกต้นไม้ เด็กจะเรียนวิธีการหรือขั้นตอนการปลูกต้นไม้ที่ถูต้อง มีทักษะการปลูกที่เริ่มจากการเพาะเมล็ดได้เห็นการเจริญเติบโตของต้นกล้าไม้ ที่จะนำไปปลูก การเฝ้าดูแลให้เจริญเติบโตต่อไปหรือไม่

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 เด็กและครูท่องคำคล้องจองต้นไม้ เพื่อเป็นการจูงใจให้เด็กเกิดความสนใจ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด
2 1. แบ่งเด็กออกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มรับบัตรภาพประโยชน์ของต้นไม้ แล้วให้เด็กสนทนาเกี่ยวกับประโยชน์ของต้นไม้ 2. เด็กและครูร่วมกันสนทนาโดยใช้คำถาม ดังนี้ - ต้นไม้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง - หากไม่มีต้นไม้ จะเกิดอะไรขึ้น 3.ร่วมกันปลูกต้นไม้ เพื่อให้เด็กมองเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญของต้นไม้
สร้างเสริม EF ด้าน: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 เด็กและครูร่วมกันสรุปดังนี้ -เกี่ยวกับประโยชน์ของต้นไม้ -การเจริญเติบโตของต้นไม้ เพื่อให้ทราบว่าเด็กมีความรู้ความเข้าใจ ขั้นตอนวิธีการที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโต
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

สื่อและอุปกรณ์ 1.อุปกรณ์ในการดูแลต้นไม้ เช่น กระป๋อง บัวรดน้ำ ส้อมพรวนกรรไกรตัดกิ่ง ฯลฯ 2.ภาพการดูแลต้นไม้

สำหรับเด็ก:

สื่อและอุปกรณ์ 1.อุปกรณ์ในการดูแลต้นไม้ เช่น กระป๋อง บัวรดน้ำ ส้อมพรวนกรรไกรตัดกิ่ง ฯลฯ 2.ภาพการดูแลต้นไม้

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

1.ปริศนาคำทายต้นไม้ 2.ภาพการเจริญเติบโตของต้นไม้ 3.ภาพต้นไม้

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

1.คำคล้องจองต้นไม้ 2.บัตรภาพประโยชน์ของต้นไม้

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับความคิดเห็นเรื่องการปลูกต้นไม้ ให้เด็กแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ