EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: สานสัมพันธ์ครอบครัว

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล2     เวลา: 60 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางอัญชลี นันทปกรณ์ | เมื่อ: 04-05-2022 11:32

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

ใหันักเรียนตะหนักถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในครอบครัวของนักเรียน

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

คำศัพท์สมาชิกในครอบครัวพร้อมความหมาย

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เพื่อให้นักเรียนทราบถึงบุคคลที่มีอยู่ในครอบครัว และรู้ถึงความสัมพันธ์ของแต่ละบุคคลที่อยู่ในครอบครัวของตนเอง

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

Mind mapping ครอบครัวของฉัน

ผ่านกิจกรรม:

-ร้องเพลงพี่น้องกัน -การเล่นเกมจับคู่ภาพกับคำศัพท์

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

อารมณ์-จิตใจ

นักเรียนมีความสุขและสนุกสนานกับการร้องเพลง

สังคม

ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆในชั้นเรียน

สติปัญญา

ได้ทราบถึงบุคคลในครอบครัวของตนเอง

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

นักเรียน 80 % มีความสุขและสนุกสนานกับการร้องเพลง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และสามารถระบุได้ถูกต้องว่ารูปภาพใด คือใครในครอบครัว


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

นักเรียนมีความรู้เดิมเกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัวอยู่บ้าง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เมื่อเราทำกิจกรรมร้องเพลง และเล่นเกมก้จะทำให้นักเรียนทราบถึงบุคคลในครอบครัวของตนเองมากยิ่งขึ้น

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

ความรู้และความท้าทายใหม่ในกิจกรรมนี้ก็คือ นักเรียนจะสามารถจำคำศัพท์เกี่ยวกับบุคคลในครอบครัวมากกว่าที่มีความรู้เดิมได้หรือไม่ จะจำไดไหมว่าภาพไหนคือบุคคลใดในครอบครัว

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูทักทายนักเรียน และร่วมกันร้องเพลงสวัสดี ครูใช้คำถามเกี่ยวกับครอบครัวดึงความสนใจของนักเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจในเนื้อหาที่จะเรียนในขั้นต่อไป
สร้างเสริม EF ด้าน: ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ มุ่งเป้าหมาย
2 ขั้นสอน ครูเปิด power point เกี่ยวกับ Family tree ให้นักเรียนดู พร้อมกับพูดคุยกับนักเรียนไปด้วยว่าในรูปที่นักเรียนเห็นเป็นใครในครอบครัว ให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น เกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัวของตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ
3 ปฏิบัติ นักเรียนวาดภาพ ระบายสีสมาชิกในครอบครัวของตนเองลงกระดาษ พร้อมทั้งนำเสนอต่อครูและเพื่อนๆในชั้น ให้นักเรียนได้ลงมือสร้างสรรค์ผลงาน และคิดวิเคราะห์ว่าบุคคลในครอบครัวของตนเองนั้นมีใครบ้าง
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
4 สรุป เล่นเกมจับคู่ภาพบุคคลกับคำ และครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงเรื่องความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว สรุปและประเมินผลความรู้ของนักเรียนที่ได้เรียนไปในวันนี้
สร้างเสริม EF ด้าน: ติดตาม ประเมินตนเอง

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

power point เกี่ยวกับ Family tree youtube เพลงพี่น้องกัน

สำหรับเด็ก:

เกมจับคู่ กระดาษ A4 และสี

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

1.การทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน 2.การแบ่งปันอุปกรณ์ระหว่างทำชิ้นงาน 3.การรักษาความปลอดภัยตนเองและผู้อื่นขณะทำกิจกรรมร่วมกัน

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

1.รู้จักการวางแผนก่อนลงมือทำชิ้นงาน 2.มีความคิดสร้างสรรค์ 3.สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในอนาคตได้

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

1.มีความสุขกับกิจกรรมร้องเพลงและเล่นเกม 2.ร่าเริงแจ่มใส 3.กล้าแสดงออก และกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น