EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ศิลปะหรรษา

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อ.3     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: ทิพย์สุดา ชามนตรี | เมื่อ: 06-05-2022 11:33

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

สร้างเจตคติที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น เคารพและชื่นชมผลงานของผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง เพื่อนำไปใช้ในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เรื่องสี

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

ทักษะทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เช่น การสร้างสรรค์ผลงานผ่านอารมณ์ของตนเองโดอยใช้กล้ามเนื้อมือในการทำงานไปด้วย

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เด็กสร้างสรรค์ผลงานตนเองผ่านการวาดรูประบายสีตามจินตนาการ โดยให้เด็กวาดตามความคิดของตนเองไม่มีขีดจำกัด เน้นการจินตนาการที่สร้างสรรค์

ผ่านกิจกรรม:

โดยผ่านกิจกรรมศิปละหรรษา วาดรูประบายสีตามจินจนาการ

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้ลองผิดลองถูก ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การใช้กล้ามเนื้อมืออย่างสม่ำเสมอ

อารมณ์-จิตใจ

มีความสุขกับการสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง

สังคม

ชื่นชมผลงานของผู้อื่นได้อย่างถูกต้องและสามารถทำงานร่วมกันได้

สติปัญญา

ฝึกการคิดอย่างเป็นขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงาน จัดลำดับของงานได้

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กมีความสุขกับการได้สร้างสรรค์ผลงานผ่านจินตนาการของตนเอง


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ได้เรียนรู้เรื่องสี ประสบการณ์ลองผิดลองถูก และการแก้ปัญหา

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

ได้ทักษะการจำแนกสี สามารถแบ่งสีตามภาพวาดของตนเองได้อย่างสวยงาม

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับสี และคุยเรื่องสีที่เด็ก ๆ รู้จัก มีการนำศัพท์ภาษาอังกฤษของสีเข้ามามีส่วนร่วมในบทสนทนาร่วมกัน - เพื่อให้เด็กได้ใช้จินตนาการของตนเอง - เพื่อให้เด็กได้ลองผิดลองถูกจาการระบายสี - ฝึกทักษะด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา เช่น กล้ามเนื้อมือในการระบายสี
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
2 ทบทวนชื่อสีแต่ละแบบ และการระบายผสมกันจะได้สีที่แตกต่างออกไป - จดจำชื่อสี - การใช้สี
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 อธิบายเรื่องสีที่สามารถบ่งบอกถึงอารมณ์ หรือการแสดงความหมายของสีต่อรูปภาพนั้น ๆ เช่น ต้นไม้สดชื่มีสีเขียว หรือต้นไม้เหี่ยวเฉามีสีเหลือง - การนำสีไปใช้เพื่อสื่อความหมายของรูปที่ตนเองวาด
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย
4 ให้เด็ก ๆ ได้สร้างสรรค์ผลงานผ่านการจินตนาการของตนเอง - ฝึกกล้ามเนื้อมือ - ฝึกทักษะความคิด - ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย
5 สรุปผลงานของเด็ก ๆ ร่วมกัน และพูดคุยภาพที่เด็ก ๆ สร้างสรรค์ขึ้น - ทบทวนการปฏิบัติของตนเอง - ชื่นชมผลงานของตนเอง และผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

- ดอกไม้ - แผ่นรูปภาพต่าง ๆ - สีไม้

สำหรับเด็ก:

- สีไม้ - กระดาษ

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

มีโต๊ะทำงานพอ และเหมาะสมกับจำนวนเด็ก มีอุปกรณ์การทำงานพร้อมสำหรับการใช้งาน

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

สำรวจสีที่ได้จากดอกไม้ที่ครูเตรียมมา

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ห้องเรียนสงบ ปลอดภัย เด็ก ๆ ทำงานร่วมกันบนโต๊ะเดียวกันได้อย่างมีความสุข