EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: การตักด้วยช้อนขนาดเล็ก

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาลปีที่ 2     เวลา: 20นาที นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางวิไล ลิ้มวิเศษศิลป์ | เมื่อ: 18-03-2022 10:35

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การใช้นิ้วมือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และและการประสานประสาทสัมผ ัสระหว่างมือกับสายตา

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

สามารถใช้ช้อนขนาดเล็กตักของได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

วิธีการใช้ช้อยขนาดเล็ก

ผ่านกิจกรรม:

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้ลงมือทำ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

กล้ามเนื้อเล็ก

อารมณ์-จิตใจ

จัดการอารมณ์ตนเอง

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กสามารถใช้นิ้วสามนิ้วจับช้อนขนาดเล็กตักเมล็ดถั่วเขียวได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กรู้จักอุปกรณ์เช่นช้อน ถ้วยและเคยได้กินถั่วเขียวมาก่อน

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

1.ครูแนะนำสื่ออุปกรณ์และสอบถามถึงประสบการณ์เดิมของเด็กว่ารู้จักอุปกรณ์ใดบ้างเคยหยิบจับมาก่อนหรือไม่ 2ครูสาธิตการใช้นิ้วมือคือนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลางจับช้อนและตักเมล็ดถั่วเขียวจากถ้วยทางซ้ายมือมาใส่ทางขวามืจนหมด แล้วตักเมล็ดถั่วเขียวจากถ้วยทางขวามือใส่ทางซ้ายมือจนหมด 3.แบ่งกลุ่มเด็กกลุ่มละ 3 คนเลือกตัวแทนแล้วให้ตัวแทนกลุ่มมารับงานและลงมือปฏิบัติจนครบทุกคน 4.เมือเด็กปฏบัติกิจกรรมเสร็จให้ตัวแทนของกลุ่มมาอธิบายความรู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบอย่างไร และอธิบายว่าตนเองสามารถตักได้อย่างไร พอใจผลงานหรือไม่ จากนั้นจึงเก็บอุปกรณ์

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยแนะนำอุปกรณ์ เพื่อให้รู้ถึงประสบการณ์เดิมของเด็ก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
2 ครูสาธิตวิธีการจับช้อน และวิธีการตักถั่วเขียวจากถ้วยซ้ายไปถ้วยขวาจนหมดแล้วตักถั่วเขียวจากถ้วยขวาไปถ้วยซ้ายจนหมด ครูให้ประสบการใหม่สำหรับเด็ก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม เพื่อให้เกิดเกิดการเรียนรู้ด้วยตนอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ
4 ขั้นสรุปกิจกรรม เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ติดตาม ประเมินตนเอง มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.ช้อนชา 2.ถ้วย 3.ถาด 4.เมล็ดถั่วเขียว

สำหรับเด็ก:

1.ช้อนชา 2.ถ้วย 3.ถาด 4.เมล็ดถั่วเขียว

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

1.มีพื้นที่สำหรับปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มได้สะดวกสาย 2.อากาศเย็นสบาย ไม่มีเสียงดัง

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

1.เด็กและครูอยู่ใกล้ชิดกัน 2.เด็กปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีความสุข มีครูคอยให้กำลังใจเด็กที่ทำไม่ได้และชมเชยเด็กที่ทำได้