EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ระดับชั้น/ช่วงวัย: ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสาวลักขณา จิตเรือ | เมื่อ: 06-05-2022 17:41

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อฤดูฝน

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เพื่อให้เด็กนำประสบการณ์เดิมมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตัวเองในฤดูฝน

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

ทักษะการป้องกันตนเองจากฝน

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

เด็กสามารถสวมเสื้อกันฝน และใช้อุปกรณ์ป้องกันฝนได้อย่างถูกต้อง

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

ฤดูฝน การดูแลตนเองให้ปลอดภัย

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฤดูฝน และมีทักษะการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยในฤดูฝน เช่น การใช้อุปกรณ์ป้องกันฝนอย่างถูกวิธี

ผ่านกิจกรรม:

ผ่านกิจกรรมการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เดิมของเด็กๆ และจับคู่รูปภาพอุปกรณ์ป้องกันฝนร่วมกัน เช่น รูปเสื้อกันฝน ร่ม เป็นต้น และเกมแต่งกายสู่ฝนยามฉุกเฉิน (ให้นักเรียนแข่งกันสวมเสื้อกันฝนว่าใครแต่งกายได้รวดเร็วและถูกต้องที่สุดจะได้รางวัลและคำชมเชย)

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

สามารถพัฒนาการทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กจากการหยิบจับ สัมผัส บัตรคำ และพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่จากการแข่งขันแต่งกายเสื้อกันฝน เด็กได้วิ่งเดิน เป็นต้น

อารมณ์-จิตใจ

เด็กๆมีความสุขสนุกสนานกับการเล่นเกม และได้ฝึกการควบคุมอารมณ์ของตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น เวลานักเรียนแพ้ ไม่โวยวายและยอมรับได้

สังคม

เด็กได้เล่นและกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รู้จักการรอคอย การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

สติปัญญา

ได้ฝึกทักษะต่างๆ เช่น การสังเกต การสนทนาโต้ตอบจากความคิดเห็นของตนเอง การจับคู่รูปภาพ การแก้ปัญหาเวลาเล่นเกมเป็นต้น

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กสามารถมีทักษะการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยในฤดูฝนได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กมีประสบการณ์เดิมจากการเคยเปียกฝน ทำให้ตนเองไม่สบาย

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

จากความรู้เดิมของเด็ก ครูจึงนำมาต่อยอดการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้เด็กเข้าใจและป้องกันตนเองจากฝนได้ โดยผ่านทักษะการปฏิบัติจริง

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของเด็กเกี่ยวกับฤดูฝนร่วมกัน และครูจดบันทึกคำตอบไว้ ครูให้ความรู้เกี่ยวกับฤดูฝนที่ถูกต้องร่วมกันจากการสนทนาของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฤดูฝน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
2 ครูนำเกมจับคู่ภาพเหมือน เกี่ยวกับฤดูฝนมาให้เด็กๆเล่น โดยสังเกตรูปภาพอุปกรณ์ที่เหมือนกันจับคู่กันให้ถูกต้อง ให้เด็กรู้จักอุปกรณืป้องกันฝน และฝึกทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นสองกลุ่มและแข่งกันเล่นเกมแต่งกายป้องกันฝนยามฉุกเฉิน โดยให้แต่ละคนแต่งชุดป้องกันฝนให้ถูกต้องและรวดเร็วที่สุดจึงจะชนะ ฝึกทักษะการแต่งกายป้องกันฝนที่ถูกต้อง เพื่อใช้ยามจำเป็น
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
4 สรุปการจัดกิจกรรมร่วมกัน จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด ขอตัวแทนออกมาพูดหน้าชั้นเรียน ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ร่วมกัน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ รู้จักการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การอดทนรอคอย
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.โปสเตอร์ความรู้ฤดูฝน 2.กระดาษ 3.ปากกา 4.แทมมารีน 5.อุปกรณ์ป้องกันฝน

สำหรับเด็ก:

1.บัตรภาพจับคู่อุปกรณ์ป้องกันฝน 2.เสื้อกันฝน 3.ร่ม 4.ถุงดำ

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และมีอุปกรณ์สื่อการจัดกิจกรรมที่ครบถ้วน

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

มีการจัดมุมที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน มีอุปกรณ์ให้ทดลองปฏิบัติ เช่นเสื้อกันฝน

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ครูให้ความรักความอบอุ่น และรับฟังความคิดเห็นของเด็กทุกคนเท่าเทียมกัน