EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: น้ำเปลี่ยนสีรสชาติดี

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล3     เวลา: 40 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: รุ่งทิพย์​ ภู่​เพียร | เมื่อ: 06-05-2022 19:07

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

การอนุรักษ์​พันธุ์​พืชสมุนไพร

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

การเปลี่ยนสีของดอกอัญชันเกิดจากกรดที่ได้จากน้ำมะนาว

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การสังเกตุ​ การทำงานร่วมกับผู้อื่น​ ความรับผิดชอบ

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

การวางแผนและการทำตามแผนที่วางไว้​ ให้ได้ฝึกสังเกตุ

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

วิธีการทำน้ำอัญชัญมะนาว​ น้ำมะนาวคือสิ่งที่เปลี่ยนสีน้ำอัญชัน

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เรียนรู้​การเปลี่ยนสีจากเดิมของน้ำอัญชัน​ว่าคือการเปลี่ยนแปลงด้วยกรดจากมะนาว​ ได้เรียนรู้​กรดในธรรมชาติผ่านอินดิเค​เตอร์​จากธรรมชาติ

ผ่านกิจกรรม:

น้ำอันชัญมะนาว

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้ลงมือทำ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

ได้ใช้มือคั้นน้ำจากดอกอัญชัน ได้ใช้สายตาสังเกตการเปลี่ยนแปลง​ของสีน้ำอัญชันเมื่อเติมน้ำมะนาว ได้ใช้ลิ้นชิมรสชาติน้ำอัญชัน​มะนาว

อารมณ์-จิตใจ

ได้ความตื่นเต้นในการทำกิจกรรม​ เมื่อเกิดการเปลี่ยนสีในน้ำอัญชัน​

สังคม

ได้ร่วมกันทำงานกับเพื่อนในกลุ่ม​

สติปัญญา

ได้เรียนรู้​ในขั้นตอนลำดับการทำน้ำ​อัญชัน​มะนาวและการเปลี่ยนแปลงสีที่เห็นคือการเปลี่ยนแปลงของน้ำที่เป็นกรดจึงเป็นสีแดงอมม่วง

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กได้ทำกิจกรรม​ร่วมกับเพื่อนได้เป็นอจ่างดีและสามารถ​ลำดับขั้นตอนการทำน้ำ​อัญชัน​ได้​ ให้สามารถ​เปรียบเทียบสีที่แตกต่างจากเดิมของน้ำ​อัญชัน​ได้ ให้บอกได้ว่าการที่เกิดสีเปลี่ยนไปนั้นเพราะอะไร


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

น้ำจากดอกอัญชันมีสีอะไร

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

คลาดเดาได้ว่าการเปลี่ยนสีของน้ำ​อัญชัน​จะเป็นสีอะไร ให้ทำไมน้ำอัญชันจึงเปลี่ยนสีได้​กัน

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูถามคำถามเกี่ยวกับสีของน้ำ​อัญชัน และอธิบายขั้นตอนการทำน้ำ​อัญชัน​มะนาว เพื่อ​สอบถามความรู้​เดิมจากเด็ก​และให้เด็กได้เรียน​รู้​วิธีการทำน้ำอัญชันมะนาว
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
2 ครูให้เด็กคั้นน้ำจากดอกอัญชัน​และกรองใส่หม้อตั้งไฟใส่น้ำตาลลงไปให้น้ำอัญชันมีรสชาติหวาน เพื่อให้เด็กได้รู้จักสีของดอกอัญชัน​
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ
3 เมื่อได้น้ำอัญชันที่แสนหวานให้เด็กคลาดเดาว่า​ ถ้าใส่น้ำมะนาวจะเป็นอย่างไร เพื่อให้เด็กได้ฝึกการสังเกต โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร​
สร้างเสริม EF ด้าน: ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ มุ่งเป้าหมาย
4 ครูสรุปและอธิบายให้เด็กฟังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำ​อัญชัน​เกิดจากน้ำมะนาวซึ่งเป็นกรด​ และครูเปิดวิดิทัศน์​เรื่องอินดิเค​เตอร์​ในธรรมชาติให้เด็กๆได้ดูพร้อมอธิขายเพิ่มเติม​ และให้เด็กๆได้ชิมน้ำอัญชันมะนาวฝีมือตนเอง เพื่อให้เด็กได้รู้จักอินดิเคเตอร์​ในธรรมชาติใกล้ตัว
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

วิดิทัศน์​อินดิเคเตอร์​ในธรรมชาติ​ อุปกรณ์​ หม้อ​ ภาชนะสำหรับใช้คั้นดอกอัญชัน​ กะชอนกรอง​ ทัพพี​ แก้วน้ำและน้ำแข็ง

สำหรับเด็ก:

ดอกอัญชัน​ มะนาว​ น้ำตาล​

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

มีพื้นที่เพียงพอในการทำกิจกรรมกลุ่ม​ สะดวกสบาย​

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ตั้งคำถามให้เด็กได้รู้สึกตื่นเต้น​ และสงสัยใคร่รู้

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในครั้งนี้