EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (อาหารดีมีประโยชน์)

ระดับชั้น/ช่วงวัย: ชั้นอนุบาลปีที่ 2     เวลา: 40 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางพิศมัย ฟักเอม | เมื่อ: 08-05-2022 16:56

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

ทราบประโยชน์และโทษของอาหารที่รับประทานแต่ละชนิด

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของตนเอง

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

มีสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหาร

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของตนเอง

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

1.เรียนรู้ประโยชน์และโทษของอาหารที่รับประทานแต่ละชนิด 2.การสร้างสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ผ่านกิจกรรม:

ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงในการประกอบอาหาร เช่น แกงจืดวุ้นเส้นเต้าหู้หมูสับ

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหว หยิบจับสื่งของต่างๆ

อารมณ์-จิตใจ

เกิดความภาคภูมิใจ สนุกสนานในการได้ลงมือปฏิบัติประกอบอาหาร

สังคม

การทำงานร่วมกัน

สติปัญญา

เกิดทักษะการคิด การคาดคะเน อัตราส่วนของการทำแกงจืดวุ้นเส้นเต้าหู้หมูสับ

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

1.เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆได้ 2.เด็กสามารถประกอบอาหารได้จนสำเร็จ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

1.เด็กได้รู้จักวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร 2.เด็กทราบขั้นตอน วิธีการและลงมือประกอบอาหารแกงจืดวุ้นเส้นเต้าหู้หมูสับ 3.แกงจืดวุ้นเส้นเต้าหู้หมูสับ เป็นอาหารที่เด็กเคยรับประทานมาก่อน

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กได้รู้จักวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร รวมถึงอุปกรณ์และภาชนะต่างๆที่ใช้ในการประกอบอาหารด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะในการใช้อุปกรณ์

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูแนะนำวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เด็กรู้จักวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 ครูให้เด็กชมวิดิโอและครูสาธิตการทำแกงจืดวุ้นเส้นเต้าหู้หมูสับ และให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติการประกอบอาหาร โดยมีครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กเรียนรู้วิธีการประกอบอาหารและลงมือปฏิบัติจริง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมโดยให้ตัวแทนออกมาเล่าถึงขั้นตอนและวิธีการทำแกงจืดวุ้นเส้นหมูสับ เด็กสามารถอธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ติดตาม ประเมินตนเอง

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

สำหรับเด็ก:

1.วัตถุดิบในการทำแกงจืดวุ้นเส้นหมูสับ 2.สื่อวีดีโอการทำแกงจืดวุ้นเส้นหมูสับ 3.อุปกรณ์และภาชนะที่ใช้ทำแกงจืดวุ้นเส้นหมูสับ

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดบรรยากาศให้เสมือนอยู่ในห้องครัว

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

เด็กมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นในการเลือกวัตถุดิบใส่ลงไปในหม้อแกงจืด โดยวัตถุดิบที่มีจำกัด

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันโดยปราศจากเสียงรบกวนจากภายนอก