EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ร่างกายของเรา

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 2     เวลา: 20 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสาวมิ่งขวัญ พันลำภัก | เมื่อ: 10-05-2022 01:09

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เด็กสามารถบอกได้ว่าส่วนประกอบของร่างกายของเพื่อนที่สังเกตได้มีอะไรบ้างแตกต่างกันหรือไม่

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เด็กสามารถบอกได้ว่าส่วนประกอบของร่างกายที่สังเกตได้มีอะไรบ้าง

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

1.บอกชื่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ เช่น แขน ขา มือ ฯ 2.สนทนาโต้ตอบกับครูได้ 3.ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายของเราแต่ละส่วนทำงานแตกต่างกัน ดังนั้นเราต้องรู้จักหน้าที่และใช้ให้ ถูกวิธีเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น เราจะต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย อย่างถูกต้องอยู่เสมอเพื่อให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์และแข็งแรง

ผ่านกิจกรรม:

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ:

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

สังคม

เด็กได้สังเกตร่างกายของตนเองและของเพื่อนว่ามีความแตกต่างกัน และสนทนาโต้ตอบกัน

สติปัญญา

บอกชื่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ เช่น แขน ขา มือ ฯ และสามารถบอกได้ว่าอวัยวะส่วนนั้นมีหน้าที่การทำงานอย่างไร

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย จากการสังเกตความแตกต่างของตนเองและเพื่อน สามารถบอกหน้าที่การทำงานของอวัยวะนั้นได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ทักษะพื้นฐาน -จำเพื่อใช้งาน -ยั้งคิด ไตร่ตรอง -ยืดหยุ่นความคิด ทักษะกำกับตนเอง -จดจ่อใส่ใจ -ติดตาม ประเมินตนเอง

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กๆจะมีวิธีการอย่างไรในการดูแลรักษาร่างกายให้ทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพอย่างไร

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูจัดเตรียมบัตรภาพอวัยวะภายนอก ได้แก่ ผิวหนังแขน มือ ไหล่ ข้อศอก ขา เท้า เข่า ท้อง มาให้เด็กดูจากนั้นสนทนาเกี่ยวกับชื่อและตำแหน่งของอวัยวะภายนอก เช่น “อวัยวะภายนอกที่เด็ก ๆ รู้จักมีอะไรบ้าง” เด็กๆสามารถปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
2 เด็กร่วมกันสนทนาและตอบคำถามครูเกี่ยวกับชื่อและหน้าที่ของอวัยวะภายนอกร่วมกัน เช่น อวัยวะภายนอกร่างกายของเรามีอะไรบ้าง เด็กๆสามารถบอกชื่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ เช่น แขน ขา มือ ฯ
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ
3 ครูขอตัวแทนเด็กออกมาบอกชื่อ หน้าที่ของอวัยวะภายนอกและบอกจำนวนของอวัยวะภายนอกว่าแต่ละส่วนมีจำนวนเท่าไร เช่น มือของเรามี 2 ข้าง และมีนิ้วมือรวม 10 นิ้ว เรามีมือไว้ถือและหยิบจับสิ่งของเมื่อเราจะหยิบจับอาหารเราจะต้องล้างมือให้สะอาดเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เด็กๆสามารถสนทนาโต้ตอบกับครูได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ
4 ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับ “อวัยวะภายนอก” ว่า ร่างกายของคนเราประกอบด้วยอวัยวะต่างๆได้แก่ ผิวหนัง แขน มือ ไหล่ข้อศอก เข่าขา เท้า ท้อง ซึ่งเป็นอวัยวะภายนอกที่สามารถสังเกตได้และมีความสำคัญในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เราควรดูแลรักษาความสะอาดอย่างถูกวิธี เด็กๆสามารถตอบคำถามสนทนาโต้กับครูได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

ภาพประกอบอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย

สำหรับเด็ก:

ร่างกายของตนเองและเพื่อน

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

การจัดสื่ออุปกรณ์ที่ทำให้เด็กได้มองภาพเป็นรูปประธรรมออกจะได้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

การจัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เด็กคิด แก้ปัญหา เชิญชวนให้เด็กอยากค้นคว้า สำรวจ ทดลอง เพื่อตอบสนองความสนใจ หรือหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยเกี่ยวกับร่างกายของเรา

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ครูแสดงให้เห็นว่าร่างกายของเรามีความแตกต่างทางกายภาพรูปร่างลักาณะผิวพรรณ ขนาด แต่ละส่วน และการทำงานที่ต่างกัน อยากให้เด็กยอมรับในความแตกต่างนั้น