EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: กิจกรรมเสริมประสบการณ์(หน่วยรู้รอบปลอดภัย)

ระดับชั้น/ช่วงวัย: ระดับชั้นอนุบาล 3     เวลา: 20 นาที นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสาวเมตตา สีสูงเนิน | เมื่อ: 10-05-2022 21:39

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

ในการประเมินภัยรอบตัวเมื่ออยู่ในสถานที่และสถานการณ์ต่างๆ

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เรื่องภัยพิบัติต่างๆ ได้แก่ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย และการปฏิบัติิตัวเพื่อให้พ้นภัย

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การระวังตนเองเมื่อเกิดภัยในสถานที่และสถานการณ์ต่าง

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กเมื่ออยู่ในสถานที่สาธารณะ

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เด็กได้เรียนรู้ถึงภัยพิบัติต่างๆและรู้วิธีปฏิบัติตัวและป้องกันภัยเมื่ออยู่ในสถานที่สาธารณะ

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

ภัยพิบัติต่างๆ และวิธิปฏิบัติตัวเพื่อให้พ้นภัย

ผ่านกิจกรรม:

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ

ทักษะปฏิบัติ: วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อใหญ่ การเคลื่อนไหวในการควบคุมดูแลตนเองในทิศทาง ระดับและพื้นที่

อารมณ์-จิตใจ

การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น การเล่นบทบาทสมมติ

สังคม

การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การปฏิสัมพันธ์ มีวินัย มีส่วนร่วมและบทบาทสมาชิกของสังคม

สติปัญญา

การใช้ภาษาการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ การพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกและความต้องการ การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือพูดเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

การเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กได้เรียนรู้ในการปฏิบัติตนเมื่อเกิดภัยและวิธิป้องกันอันตรายจากภัยต่างๆ

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ซึ่งไม่เคยรู้และได้ลงมือปฏิบัติจริง

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กหรือเคยพบเจอมาเกี่ยวกับภัยภิบัติต่างๆ เพื่อจะได้ทราบถึงความรู้เดิมของเด็ก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ มุ่งเป้าหมาย
2 ให้เด็กดูภาพการเกิดภัยพิบัติต่างๆจากภาพและตั้งคำถามเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้เกิดภัยต่่างๆจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้เด็กรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆและวิธีป้องกันภัย
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 ให้เด็กได้ดูจากสถานจริงจากหน่วยป้องกันอัคคีภัย เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงและสามารถนำไปปฏิบัติได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

ภาพภัยพิบัติต่างๆ ภาพวิดีโอ

สำหรับเด็ก:

นิทานเรื่องความปลอดภัย ตารางจัดหมวดหมู่ระดับความเสี่ยง แผ่นป้ายจุดอันตราย

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

การจัดสภาพแวดล้อมเน้นความปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ให้เด็กได้เรียนรู้และได้ลงมือปฏิบัติจริง

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

จัดให้เด็กได้เรียนรู้และสนุกในการได้ลงมือปฏิบัติ