EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: รอบรั้วโรงเรียน

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 3     เวลา: 20 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: จินตนา น้อยพันธ์ | เมื่อ: 10-05-2022 23:38 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 10-05-2022 23:39

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับวิถีโรงเรียนและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ สร้างเจตคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

ในแต่ละวันที่อยู่โรงเรียนนักเรียนทำอะไรบ้างอย่างไร

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

ทักษะชีวิต - สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ทักษะการคิด - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิต ประจำวันของตนเองได้ - คิดสร้างสรรค์เพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ทักษะการอยู่ร่วมกัน คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการปฏิบัติตนร่วมกันและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทักษะการสื่อสาร อธิบายสิ่งที่ตนเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

การปฏิบัติตนที่ดีเมื่ออยู่โรงเรียน

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

การปฏิบัติตนตามวิถีเมื่อมาโรงเรียน และการฎิบัติตนเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

การปรับตัวเข้ากับวิถีโรงเรียนและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

ผ่านกิจกรรม:

การเล่านิทาน การสำรวจ การแสดงความคิดเห็น การเล่น

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหวการเดินสำรวจ การเล่น

อารมณ์-จิตใจ

ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัยในการฟังนิทาน การเล่น มีความมั่นใจและกล้าแสดงออกในการตอบคำถาม

สังคม

การทำกิจกรรมกลุ่ม การเล่นร่วมกัน เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

สติปัญญา

กิจกรรมพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับนิทานที่ฟังและการสำรวจ การสังเกตมุมต่างๆ บริเวณอาคารอนุบาล พร้อมวิธีการเล่นและการเก็บอุปกรณ์ร่วมกัน เกิดความคิดรวบยอด ได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิต ประจำวันของตนเองได้

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กๆนำเสนอวิธีการปฏิบัติตน การปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่โรงเรียนและสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์การปฏิบัติตนตามกิจวัตรประจำวันได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การสร้างข้อตกลงร่วมกัน จากประสบการณ์เดิมในชั้นอนุบาล2

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

ต่อยอดกระบวนการคิด การไตร่ตรอง สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อมาโรงเเรียนและอยู่ร่วมกับผู้อื่น สร้างแรงบันดาลใจ สามารถเลือกว่าสิ่งไหนควรหรือไม่ควรปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ชง (Play ) - ครูเล่านิทานเรื่องหนูชอบไปโรงเรียน - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรบ้าง - สำรวจนอกอาคารบริเวณอาคารอนุบาล สนามเด็กเล่น - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนเห็นอะไร เล่นอย่างไร เราจะช่วยกันดูแลอย่างไร เพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นจากการฟังนิทานและการเดินสำรวจ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์
2 เชื่อม (Talk ) - ร่วมกันพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับนิทานที่ฟัง - ร่วมกันพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการสังเกตมุมต่างๆ พร้อมวิธีการเล่นและการเก็บอุปกรณ์ร่วมกัน เพื่อให้เด็กๆได้พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติและการดูแล เพื่อให้เด็กๆได้วิเคราะห์ สังเคราะห์แนวทางปฏิบัติและการดูแล ร่วมกัน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง
3 ใช้ (Learn ) : - เล่นสนาม ก่อปราสาททราย เพื่อให้เด็กๆได้ปรับตัว สร้างฉันทะร่วมกัน
สร้างเสริม EF ด้าน: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

นิทานหนูชอบไปโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ - อาคารเรียน - สนามเด็กเล่น

สำหรับเด็ก:

แหล่งเรียนรู้ - อาคารเรียน - สนามเด็กเล่น

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

การจัดสภาพแวดล้อม สนามเด็กเล่น ห้องเรียน อาคารเรียน สะอาดมีระเบียบ มีความปลอดภัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

กระตุ้นความสนใจด้วยนิทาน การตั้งคำถาม การสำรวจ การเปิดโอกาสให้เด็กๆได้แสดงความคิดอย่างเสรี มีการสะท้อนคิดร่วมกัน

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ผ่อนคลาย เรียนรู้อย่างมีความสุข ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ