EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: กิจกรรมสร้างสรรค์

ระดับชั้น/ช่วงวัย: ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/2     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์

บันทึกหลังจากการจัดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 1



สร้างโดย: นางสาวอัญชลี โสภา | เมื่อ: 29-01-2023 21:45 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 29-01-2023 21:50

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เด็กปะติดเมล็ดข้าวเปลือกได้

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

การหยิบจับ การปะติด

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การเจริญเติบโตของต้นข้าว รูปร่างลักษณะและประเภทของข้าว รวมถึงการดูแลรักษาต้นข้าวให้เจริญเติบโต

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

เด็กนำเสนอผลงานของตนเองได้

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เด็กได้มีความคิดสร้างสรรค์

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เด็กมีทักษะการยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง ในการทำกิจกรรมให้สำเร็จด้วยตนเอง เด็กมีทักษะใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง

ผ่านกิจกรรม:

กิจกรรมสร้างสรรค์ การปะติดเมล็ดข้าวเปลือกบนภาพรวงข้าว

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กให้ประสานสัมพันธ์กับตา

อารมณ์-จิตใจ

สนใจ มีความสุขและแสดงออกผ่านงานศิลปะ

สังคม

การพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกและความต้องการได้เหมาะสมกับสถานการณ์

สติปัญญา

การแสดงความคิดสร้างรรค์ผ่านงานศิลปะ

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และภูมิใจในผลงานของตนเอง มีการควบคุมอารมณ์และมีจิตใจที่จดจ่อในการทำกิจกรรม


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กมีประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับการพบเห็นทุ่งนา ต้นข้าว รู้จักข้าวเปลือก ข้าวสาร ซึ่งเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันรวมถึงการบอกเล่าจากผู้ใหญ่

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เพื่อให้เด็กได้เห็นถึงความสำคัญของข้าวและรู้จักการดูแลรักษาต้นข้าวให้เจริญเติบโต

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูแนะนำการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้กับเด็ก ได้แก่ เมล็ดข้าวเปลือก กาว รูปภาพรวงข้าว เด็กสามารถใช้อุปกรณ์ตต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ มุ่งเป้าหมาย
2 ครูสาธิตการปะติดเมล็ดข้าวเปลือกบนภาพรวงข้าว โดยรูปภาพต้นข้าวให้ระบายสีด้วยสีไม้จากนั้นเมื่ิอระบายสีเสร็จแล้วให้นำเมล็ดข้าวเปลือกทากาวแล้นนำมาติดที่รูปรวงข้าว เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมของตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ
3 ให้เด็กนำเสนอผลงานของตนเองหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนและครูฟัง เด็กมีความกล้าแสดงออกและมีความภูมิใจในผลงานของตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ติดตาม ประเมินตนเอง มุ่งเป้าหมาย
4 ครูสังเกตพฤติกรรมของเด็กและใช้คำถามเกี่ยวกับผลงานของเด็ก เด็กจะได้ปรับปรุงและประเมินผลงานของตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.เมล็ดข้าวเปลือก 2.กาว 3.รูปภาพรวงข้าว

สำหรับเด็ก:

1.เมล็ดข้าวเปลือก 2.กาว 3.รูปภาพรวงข้าว

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

การจัดสื่อ อุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสื่อ อุปกรณ์ ที่นำมาใช้ครูจะต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจก่อน

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

กระตุ้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตใจจดจ่อกับการทำกิจกรรม รู้จักวางแผนและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

บรรยากาศภายในห้องต้องเงียบสงบ เพื่อให้เด็กเกิดสมาธิในการทำกิจกรรม