EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: กิจกรรมวิทยาศาสตร์

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาลปีที่ ๓     เวลา: ๙.๒o-๙.๔๕ น. นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: วลัยศิริ แสนพลอ่อน | เมื่อ: 05-05-2023 15:02

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เด็กมีความรู้เกี่ยวกับการทดลอง หลอดดำน้ำ

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการทดลอง

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

เราสามารถนำหลักการของหลอดดำน้ำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตข้างหน้าได้ เช่น เรือดำน้ำ

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

วิธีที่ใช้ในการทดลอง 1. วิธีที่ใช้ในการทดลอง 2. การลอย การจมของหลอด 3. การแก้ไขปัญหาในการทดลองด้วยตนเอง

ผ่านกิจกรรม:

การทดลองวิทยาศาสตร์ การลอย การจม

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การใช้กล้ามเนื้อมือในการปั้นดินน้ำมันอุดหลอด/การใช้กรรไกรตัดหลอด

อารมณ์-จิตใจ

มีความสนุกสนานในการทำกิจกรรมการทดลอง

สังคม

ได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น

สติปัญญา

เด็กมีทักษะการสังเกต การคาดคะเน การแก้ปัญหาในการทดลอง

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ในการทดลองวิทยาศาสตร์


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กบอกได้ว่า สิ่งใดบ้างที่ลอยน้ำได้และสิ่งใดบ้างที่ลอยน้ำไม่ได้จากประสบการณ์เดิมของเด็กว่า มีอะไรบ้าง

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กทำหลอดดำน้ำได้ประสบผลสำเร็จด้วยตนเอง

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ขั้นตอนที่ ๑ การดำเนินการ เตรียมอุปกรณ์ และแนะนำอุปกรณ์ -เพื่อให้เด็กรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 สาธิตวิธีการทำหลอดดำน้ำแต่ละแบบให้นักเรียนดู เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 ให้นักเรียนเลือกตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง -เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการทดลอง หลอดดำน้ำ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
4 เด็กเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาในการทดลองให้ประสบผลสำเร็จ -เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำการทดลองกับเพื่อนๆ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

อุปกรณ์ - ขวดน้ำพลาสติก - หลอดกาแฟแบบหักงอ - ดินน้ำมัน - กรรไกร - น้ำเปล่า - กะละมัง

สำหรับเด็ก:

หลอดเรือดำน้ำ (ใช้อุปกรณ์ในการเล่น )

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

- จัดสภาพแวดล้อมเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายในการลงมือปฏิบัติการทดลองได้อย่างคล่องแคล่ว

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

กระตุ้นความสนใจของเด็ก โดยการใช้คำถามก่อนการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อให้เด็กได้คิด เช่น เด็กๆคิดว่าสิ่งใดบ้างที่ลอยน้ำได้และสิ่งใดบ้างที่ลอยน้ำไม่ได้/ทำไมเมื่อเราบีบขวดน้ำหลอดจึงจม /เมื่อเราคลายแรงบีบขวดจะเกิดอะไขึ้น

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

เมื่อเด็กๆทำการทดลองประสบผลสำเร็จ คุณครูก็จะพูดชมเชยให้กำลังใจ/ให้เพื่อนๆปรบมือให้ ส่วนเด็กคนที่ทำยังไม่สำเร็จ คุณครูจะให้เด็กไปปรับปรุง แก้ไขใหม่/เปลี่ยนวิธีการแบบใหม่ให้เด็กได้ทำลองผิด ลองถูก