EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: จะทำอย่างไรเมื่อฝนตก

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 2     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: พนมวรรณ คาดพันโน | เมื่อ: 19-06-2023 22:12 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 19-06-2023 22:26

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เตรียมพร้อมอยู่เสมอ/ วัฒนธรรมความปลอดภัย

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

จะทำอย่างไรเมื่อฝนตก

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

ฝึกนั่งท่าหลบฟ้าผ่า

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

การเตรียมพร้อมเมื่อฝนตก นั่งท่าหลบฟ้าผ่า

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

ทักษะสมอง EF ด้าน จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิดไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มลงมือทำ ติดตามประเมินตนเอง และมุ่งเป้าหมาย

ผ่านกิจกรรม:

จะทำอย่างไรเมื่อฝนตก

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กับการทรงตัว

อารมณ์-จิตใจ

เรียนรู้อย่างสนุกสนานผ่านเกมส์

สังคม

การให้ความร่วมมือ ทำตามกติกาข้อตกลง

สติปัญญา

จดจำความรู้ จดจำเสียงคำพูดและท่าทางประกอบ

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

1.บอกได้ว่าเมื่อฝนตกต้องเตรียมอะไรบ้าง 2.สามารถนั่งท่าหลบฟ้าฝ่าได้ 3.สามารถทำท่าประกอบเสียง คำพูด ตามกติกาได้ถูกต้อง 4.บอกได้ถึงความรู้สึกตนเองหลังจากฝึกนั่งท่าฟ้าผ่า


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กรู้ว่าเวลาฝนตกมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง สังเกตจากอะไร

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

การเตรียมตัวเมื่อฝนตก สามารถนั่งท่าหลบฟ้าผ่าได้

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 นำเข้าสู่บทเรียน โดย 1) แจ้งนักเรียนว่าวันนี้จะเรียนรู้เรื่องจะทำอย่างไรเมื่อฝนตก ในหนังสือ "บันทึกปลอดภัย เจ็ดสหาย 1784" 2) ถามนักเรียน "วันนี้คิดว่าฝนจะตกไหม" "รู้ได้อย่างไร" นำเด็กเข้าสู่ความสนใจในบทเรียน ทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิมของเด็ก เกี่ยวกับฝนตก เด็กบอกได้ว่าเวลาฝนจะตกสามารถสังเกตจากอะไร
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
2 การดำเนินกิจกรรม 1) ครูเปิดหนังสือ "บันทึกปลอดภัย เจ็ดสหาย 1784" อ่านหนังสือให้ฟัง ชี้ชวนดูภาพ 2) ตั้งคำถาม "ใครทำเสียงฝนตกเป็นบ้าง" "เวลาฝนตกมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง" "ถ้าฝนตกเราจะอยู่ที่ไหนถึงจะปลอดภัย" "ถ้าฝนตกเราอยู่ในที่โล่ง มีเสียงฟ้าคำราม เราจะทำอย่างไร" 3) ครูชี้ชวนดูภาพในหนังสือทบทวนว่าต้องอยู่ในบ้าน ถ้าอยู่กลางแจ้งต้องนั่งท่าหลบฟ้าผ่า 4) ครูสาธิตการนั่งท่าหลบฟ้าผ่า แล้วชวนเด็กฝึก 5) เล่นเกมส์ "หลบฟ้าผ่า) ครูพาเด็กฝึกท่าต่าง ๆ ดังนี้ ลมพัด (โบกมือซ้ายขวา ส่งเสียงฟู่ฟู่) ฝนตก (ยกแขนทั้ง 2 ข้าง สะบัดข้อมือไปมา ส่งเสียงซ่าซ่า) ฟ้าร้อง (มือ 2 ข้างป้องปาก ส่งเสียงฮึ่มฮึ่ม) ฟ้าผ่าเปรี้ยง (เด็กนั่งท่าหลบฟ้าผ่า) ฝึกซ้ำทบทวนจนเด็กจำท่าได้ 6) กติกา ถ้าได้ยินคำไหนให้ทำท่านั้น เล่น 3-5 นาที เด็กเรียนรู้การเตรียมตัวเมื่อฝนตก เด็กสามารถนั่งท่าหลบฟ้าผ่าได้ เด็กจำท่าประกอบเสียง/คำ สามารถทำท่าประกอบได้ถูกต้อง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย
3 สรุปและประเมินผล 1) ครูถามเด็ก ๆ "ตอนเล่นเกมส์รู้สึกอย่างไร มีกี่ท่า ท่าไหนบ้าง ท่าไหนยากสุด ชอบท่าไหนที่สุด" 2) ครูถามเพื่อทบทวนความรู้ "เมื่อฝนตกต้องเตรียมอะไรบ้าง" 3) ครูชื่นชมในความพยายามของเด็ก ๆ เด็กได้แสดงความรู้สึก บอกความรู้สึกของตนเองได้ ได้ทบทวนความรู้การเตรียมพร้อมเมื่อฝนตก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ติดตาม ประเมินตนเอง

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

หนังสือ "บันทึกปลอดภัย เจ็ดสหาย 1784"

สำหรับเด็ก:

หนังสือ "บันทึกปลอดภัย เจ็ดสหาย 1784"

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดสถานที่ให้โล่ง สะอาด

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ครูเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ครูใส่ใจฟังเมื่อเด็กตอบ และแสดงความชื่นชมเมื่อเด็กให้ความร่วมมือ