EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: รู้จักพี่นักดับเพลิงกันเถอะ

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 2     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: พนมวรรณ คาดพันโน | เมื่อ: 20-06-2023 21:44

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

ปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัย

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

รู้จักนักดับเพลิง และจดจำหมายเลข 1784

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การจำหมายเลข 1784

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เด็กเรียนรู้ทักษะสมอง EF ด้าน ความจำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มลงมือ ควบคุมอารมณ์ ติดตามประเมินตนเอง

ผ่านกิจกรรม:

รู้จักพี่นักดับเพลิงกันเถอะ

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

กล้ามเนื้อมัดเล็ก

สังคม

การใช้ดินสอสีร่วมกับเพื่อน ๆ

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

1) เด็กบอกลักษณะเด่นของนักดับเพลิงได้ เช่น การแต่งตัว 2) เด็กสามารถบอกได้ว่าเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ ต้องโทรศัพท์แจ้งหมายเลข 1784


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กมีประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับไฟไหม้ อาจเห็นของจริง หรือเห็นในข่าว ในหนังในละคร เป็นต้น

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เพื่อให้เด็กรู้จักนักดับเพลิง รู้จักหน้าที่นักดับเพลิง จดจำหมายเลข 1784 ได้

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 นำเข้าสู่บทเรียน 1) ครูแจ้งเด็กว่า "วันนี้เราจะมารู้จักพี่ ๆ นักดับเพลิง" 2) ครูถือหนังสือ "บันทึกปลอดภัย เจ็ดสหาย 1784" โชว์หน้าปกให้นักเรียนดู "จากหนังสือเล่มนี้ พี่ไปติมจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จัก นักดับเพลิง 3) ครูถามว่า "ใครเคยเห็นไฟไหม้บ้าง" "เวลามีไฟไหม้เราจะโทรศัพท์แจ้งเหตุ ต้องกดเบอร์อะไรคะ มีใครรู้บ้าง" 1) เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่บทเรียน 2) ทบทวนความรู้และประสบการณ์ของเด็กเกี่ยวกับไฟไหม้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
2 ขั้นดำเนินกิจกรรม 1) ครูถาม "เด็ก ๆ เคยเห็นอุปกรณ์ดับเพลิงไหม" ครูเปิดหนังสือไปที่หน้า 34 ชี้ชวนให้ดูภาพไปทีละภาพ 2) ครูถาม "นักดับเพลงแต่งชุดสีอะไร" "ชุดนักดับเพลิงมีอะไรบ้าง" ชี้ชวนให้เด็กดูชุดนักดับเพลิงในหน้า 34 ชี้ชวนให้ดูรถดับเพลิง เรือดับเพลิง และรถประเภทต่าง ๆ ในหน้า 26-27 3) "รถดับเพลิงจะมา เราต้องต้องโทรศัพท์ไปแจ้งว่ามีเหตุไฟไหม้ ที่หมายเลข........" ถ้าเด็กตอบไม่ได้ ครูโชว์ตัวเลขบนหน้าปกอีกครั้ง แล้วถามทวน "หมายเลขอะไรนะ" 4) ครูชวนคุย "เด็ก ๆ อยากเป็นนักดับเพลิงไหม" 5) ครูแบ่งกลุ่มละ 4 คน แจกสี แจกกระดาษภาพระบายสีนักดับเพลิง 6) ครูให้เด็กระบายสี 1) เพื่อให้เด็กได้รู้จักนักดับเพลิง 2) ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกระบายสี 3) ให้เด็กได้ฝึกการใช้ดินสอสีร่วมกับเพื่อน ๆ 4) เพื่อให้เด็กจดจำหมายเลข 1784
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ
3 สรุปประเมินผล 1) "ใครระบายสีเสร็จแล้วยกมือขึ้น" "รู้สึกอย่างไรกับผลงานของเรา" "ใครคิดว่าระบายสีได้สวยยกมือขึ้น" 2) "เด็ก ๆ จำได้ไหมว่า นักดับเพลิงใส่ชุดสีอะไร" "ชุดนักดับเพลิงมีอะไรบ้าง" "อุปกรณ์ที่นักดับเพลิงใช้มีอะไร" 3) ครูกล่าวชื่นชมเด็ก ๆ เพื่อทบทวนความจำ เพื่อสะท้อนความรู้สึกต่อผลงานตัวเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

หนังสือ "บันทึกปลอดภัยเจ็ดสหาย 1784"

สำหรับเด็ก:

ภาพระบายสีนักดับเพลิง ดินสอสี

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดห้องให้โล่ง เด็กนั่งกับพื้น ดูแลความสะอาดของพื้นห้อง

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ครูกระตุ้นให้เด็กคิด ชี้ชวนให้เด็กดูภาพในหนังสือ

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ครูปล่อยให้เด็กทำงาน (ระบายสี) โดยไม่เร่ง ไม่ชี้นำ รับฟังเด็กด้วยความใส่ใจ