EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: รสชาติของนม

ระดับชั้น/ช่วงวัย: เตรียมอนุบาล     เวลา: 20 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์

บันทึกหลังจากการจัดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 1



สร้างโดย: นางสาวลิลาวรรณ อุตรศักดิ์ | เมื่อ: 24-07-2023 17:03

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพของตนเอง

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

1.รู้จักนมแต่ละชนิด 2.การเลือรับประทานนมที่มีประโยชน์

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การชิมรสชาติของนม

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

การลสังเกตและการทดลองชิมนมชนิดต่างๆ

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

นมเปรี้ยวมีสีส้ม กลิ่นหอมส้ม รสหวานอมเปรี้ยว นมช้อคโกเลต มีสำน้ำตาล มีรสชาติหวาน นมจือมีสีขาว รสชาติจืด

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

EF จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิดไตรตรอง จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มลงมือทำ ติดตามประเมินตนเอง และมุ่งเป้าหมาย

ผ่านกิจกรรม:

รสชาติของนม

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

กล้ามเนื้อมัดใหญ่-การเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง

อารมณ์-จิตใจ

การเรียนรู้ที่สนุกสนานผ่านการชิมรสชาติ

สังคม

การให้ความร่วมมือในกิจกรรม เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

สติปัญญา

การจดจำความรู้ การจำรสชาติผ่านการชิมและการดมกลิ่น

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

1.การร้องเพลงและการทำท่าทางประกอบเพลง 2.การสังเกต สี กลิ่น บรรจุภัณฑ์ของนม 3.การบอกรสชาติของนมชนิดต่างๆ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กรู้จักนมชนิดต่างๆ สังเกตจากอะไร

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

นมแต่ละชนิดมีบรรจุภัณฑ์และเอกลักษณ์จำเพาะ นมแต่ละชนิดมีสีและรสชาติที่แตกต่างกัน

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1.ครูร้องเพลง ดื่มนมให้เด็กๆฟัง 1 รอบ 2.ครูทำท่าทางประกอบเพลง ดื่มนม ให้เด็กทำท่าทางประกอบเพลงตามคุณครู 3. เด็กทำตาม 2-3 รอบ นำเด็กเข้าสู่ความสนใจในบทเรียน ทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิมของเด็ก เกี่ยวกับนม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ มุ่งเป้าหมาย
2 ขั้นดำเนินกิจกรรม 1.ครูจัดให้เด็กนั่งเป็นรูปครึ่งวงกลม และสร้างข้อตกลงกับเด็ก 2.ครูนำนมรสชาติต่างๆกันมาให้เด็กสังเกตและทดลองชิม (เทนมใ่ส่แก้วใสเพื่อให้เด็กสังเกตสี) 3.ครุให้เด็กออกมาสังเกตนมด้วยการดมกลิ่นและชิมรสชาติ และสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับรสชาติของนม เด็กรู้จักการสังเกตและการชิมรสชาติ สามารถบอกสิ่งที่สังเกตได้ บอกรสชาติได้ บอกความรู้สึกของตนเองได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 ขั้นสรุป ครูสนทนากับเด็กๆถึงประโยชน์ของนม และนมที่เด็กๆควรเลือกรับประทาน คือ นมจืด เพราะจะทำให้ไม่ฟันผุ เด็กบอกประโยชน์ของนม และนมที่เด็กๆควรเลือกรับประทาน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

เพลง ดื่มนม นมจืด นมเปรี้ยว นมช้อคโกเลต นมหวาน

สำหรับเด็ก:

เพลง ดื่มนม นมจืด นมเปรี้ยว นมช้อคโกเลต นมหวาน

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดโต็ะ สภาพห้องเรียนให้โลง่เหมาะสมกับการเรียนรู้

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ครูเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ครุสนใจใส่ใจเมื่อเด็กตอบ คอยกระตุ้นความคิด และแสดงความชื่นชมหรือการให้สิ่งเสริมแรงทางบวก