EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: อาหารดีมีประโยชน์

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 2-3 ปี     เวลา: 10 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: ภัทนิยา เพียรสมภาร | เมื่อ: 13-09-2023 13:36 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 18-09-2023 11:11

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

ฝึกสมาธิ ความสมดุล และการทรงตัว

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

จดจำ และนำไปใช้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

ฝึกสมาธิ รู้จักควบคุมลมหายใจเข้าและควบคุมลมหายใจออกของตนเอง และรู้จักการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสมดุล

ผ่านกิจกรรม:

โยคะ ท่าพระอาทิตย์

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้ลงมือทำ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

เด็กได้ฝึกการทรงตัว

อารมณ์-จิตใจ

ร่าเริง แจ่มใส อารมณ์ดี

สังคม

ได้ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน

สติปัญญา

ได้แสดงท่าทาง ตามคำสั่ง และออกแบบท่าทางร่วมกัน

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กเคลื่อนไหวร่างกายตามคำสั่งได้ถูกต้อง ได้มีสมาธิจดจ่อในการฟัง สร้างความสนุกนสนาน อารมณ์ดี


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

การแสดงท่าทางตามความคิดของตนเอง

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

การฝึกโยคะช่วยทำให้เด็กมีจิตใจสงบ จิตใจอ่อนโยน และช่วยทำให้เด็กใจเย็น

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูให้เด็กนั่งผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกาย ที่ต้องใช้ประกอบการทำกิจกรรมโยคะ ส่งเสริมด้านความจำเพื่อใช้งาน มีสมาธิจดจ่อใส่ใจ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ
2 ให้เด็กยืนตรงให้ขาทั้ง 2 ข้างชิดกัน ปลายเท้าแยกห่างกันเล็กน้อย พนมมือไว้ที่หน้าอก หายใจเข้า หายใจออก เหยียดแขนทั้ง 2 ข้างไปด้านหน้าให้ขนานกับพื้นราบ หายใจเข้า ยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศรีษะจนสุด และเอนตัวไปด้านหลังช้าๆ หายใจออก แขม่วท้อง แล้วก้มตัวลงพร้อมวางมือทั้ง 2 ข้างลงบนหัวเข่า ส่งเสริมการมีสมาธิจดจ่อใส่ใจ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 -ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง คำกล่าวทานข้าว พร้อมๆ กัน โดยครูเคาะกลองให้จังหวะ -ครูนำภาพการปฏิบัติตนที่เหมาะสมในการรับผประทานอาหาร (ไม่พูดคุยขณะที่มีอาหารอยู่ในปาก) และให้เด็กร่วมแสดงความคิดเห็นทีละคน -ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม เพื่อให้เด็กจดจำและนำไปใช้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

กลอง/เครื่องเคาะจังหวะ

สำหรับเด็ก:

-

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดสภาพแวดล้อมในห้องให้เป็นระเบียบและปลอดภัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ใช้การเคาะเครื่องดนตรีที่มีเสียงเคาะเรียกให้เด็กมีสมาธิ และจดจ่อ

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ดูแลตอบสนองความต้องการของเด็ก การทานอาหารให้อิ่ม นอนพักผ่อนให้เพียงพอ