EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: นับสนุก 1-10

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 3-4 ปี     เวลา: 10 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: ชิดชนก นามแสงกาง | เมื่อ: 14-09-2023 10:46

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เพื่อให้เด็กสามารถเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

เพื่อให้เด็กสามารถจดจำ การนับจำนวน 1-10 ได้

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

เพื่อให้เด็กจดจำ และนำไปใช้ได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เรียนรู้ในการยอมรับและเคารพการตัดสินใจของผู้อื่น และเพื่อให้เด็กรู้จักยืดหยุ่นทางความคิด

ผ่านกิจกรรม:

นับสนุก 1-10

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้ลงมือทำ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

เด็กได้ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กประสานสัมพันธ์กับตา

อารมณ์-จิตใจ

เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม

สังคม

เด็กมีการวางแผนการเล่นร่วมกับเพื่อน

สติปัญญา

เด็กได้ลองผิลองถูก และคิดวิเคาระห์

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กรู้จักการวางแผนและแก้ปัญหาในการจดจำให้ได้มากที่สุด สามารถนำไปปฏิบัติได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กเกิดการคิด ตัดสินใจ ขณะปฏิบัติกิจกรรม ก่อนเด็กจะได้เรียนรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กได้เห็นเป้าหมายอย่างชัดเจน และสามารถจดจำไปใช้ให้ได้มากที่สุด

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูทำกิจกรรมจิตศึกษาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยเด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกาย ที่ต้อใช้ประกอบการทำกิจกรรม เพื่อให้เด็กเตรียมความพร้อม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ
2 -ครูให้เด็กเริ่มท่าเตรียม กำมือทั้ง 2 ข้าง -ยกมือขวาให้อยู่ในระดับสายตาแล้วทำท่าชี้นิ้วไปทางซ้าย และมือซ้ายทำท่าชู 1 นิ้ว (นิ้วชี้) นับ 1 -สลับให้มือซ้ายอยู่ในระดับสายตาแล้วทำท่าชี้นิ้วไปทางขวา และ ให้มือขวาทำท่าชู 2 นิ้ว (นิ้วชี้และนิ้วกลาง) นับ 2 -สลับให้มือขวาอยู่ในระดับสายตาแล้วทำท่าชี้นิ้วไปทางซ้าย และ ให้มือซ้ายทำท่าชู 3 นิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง) นับ 3 -สลับให้มือซ้ายอยู่ในระดับสายตาแล้วทำท่าชี้นิ้วไปทางขวา และให้มือขวาทำท่าชู 4 นิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย) นับ 4 -สลับให้มือขวาอยู่ในระดับสายตาแล้วทำท่าชี้นิ้วไปทางซ้าย และให้แบมือซ้ายทำท่าชู 5 นิ้ว นับ 5 -สลับให้มือซ้ายอยู่ในระดับสายตาแล้วทำท่าชี้นิ้วไปทางขวา และมือขวาทำท่านิ้วโป้งกับนิ้วก้อยแตะกัน เป็นท่าชู 3 นิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางกางออก) นับ 6 -สลับให้มือขวาอยู่ในระดับสายตาแล้วทำท่าชี้นิ้วไปทางซ้าย และมือซ้ายทำท่านิ้วโป้งกับนิ้วนางแตะกัน นิ้วที่เหลืออีก 3 นิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วก้อย) กางออก นับ 7 -สลับให้มือซ้ายอยู่ในระดับสายตาแล้วทำท่าชี้นิ้วไปทางขวา และมือขวาทำท่านิ้วโป้งกับนิ้วกลางแตะกัน นิ้วที่เหลืออีก 3 นิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วนาง และนิ้วก้อย) กางออก นับ 8 -สลับให้มือขวาอยู่ในระดับสายตาแล้วทำท่าชี้นิ้วไปทางซ้าย และมือซ้ายทำท่านิ้วโป้งกับนิ้วชี้แตะกัน อีก 3 นิ้วที่เหลือ (นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย) กางออก นับ 9 -สลับให้มือซ้ายอยู่ในระดับสายตาแล้วทำท่าชี้นิ้วไปทางขวา และมือขวาทำท่ากำมือ นับ 10 -ครูกับเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ เพื่อให้เด็กเกิดทักษะการสังเกต การนับเลข
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

กลอง, เครื่องเคาะจังหวะ

สำหรับเด็ก:

-

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

เด็กมีการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ขณะทำกิจกรรม

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

เกิดการคิดไตร่ตรองขณะทำกิจกรรม และการยืดหยุ่นความคิด

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

รู้จักควบคุมอารมณ์ของตัวเองในการทำกิจกรรม