EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: บริหารสมอง

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 3-4 ปี     เวลา: 10 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางศิราณี บุญชู | เมื่อ: 14-09-2023 15:14

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การประสานสัมพนธ์ระหว่างมือกับสายตา

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจดจำ

ผ่านกิจกรรม:

Brain Gym ท่าบริหารการเคลื่อนไหวสลับข้าง (ท่าจีบ L)

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้ลงมือทำ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา

อารมณ์-จิตใจ

การควบคุมอารมณ์ตนเอง การอดทนรอคอย

สังคม

การร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น

สติปัญญา

การสังเกต การคิดวิเคราะห์

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กสามารถควบคุมการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

การใช้มือหยิบ จับ สิ่งต่างๆ

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

กระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูทำกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยเด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกาย ที่ต้องใช้ประกอบการทำกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ
2 -ครูให้เด็กยกมือทั้ง 2 ข้างขึ้นมา ให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ส่วนนิ้วอื่นๆให้เหยียดออกไป -มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้าย ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวเเอล (L) ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 ปฏิบัติซ้ำ และร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ เพื่อให้เกิดเกิดการเรียนรู้ด้วยตนอง และเกิดความคิดรวบยอด
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

กลอง, เครื่องเคาะจังหวะ

สำหรับเด็ก:

-

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

พื้นที่สำหรับปฏิบัติกิจกรรม สะอาดและปลอดภัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

เด็กและครูอยู่ใกล้ชิดกัน ปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีความสุข มีครูคอยให้กำลังใจเด็กที่ทำไม่ได้และชมเชยเด็กที่ทำได้