EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ชุมชนน่าอยู่

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 3-4 ปี     เวลา: 10 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: kharakun2520@gmail.com | เมื่อ: 18-09-2023 14:48

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีความเคารพซึ่งกันและกัน

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

การเคารพซึ่งกันและกัน เป็นให้ความรุู้สึกดี ๆ ต่อกัน เชื่อใจ ไว้ใจ มีน้ำใจต่อกัน

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การสื่อสาร การพูดจาให้กำลังใจกัน การทำงานร่วมกัน มีน้ำใจ แบ่งปัน ช่วยเหลือ การยอมรับ การความรู้สึกที่ดีต่อกัน ช่วยเหลือกัน แบ่งปัน ไม่รังแกกัน

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

การอยุู่ร่วมกัน การเล่นด้วยกัน อย่างมีความสุข มีการความรู้สึกที่ดีต่อกัน ช่วยเหลือกัน แบ่งปัน ไม่รังแกกัน

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

การสื่อสาร การพูดคุย การพูดจาไพเราะ การแสดงออกอย่างสุภาพ การมีน้ำใจ การยั้บยั้งชั่งใจ

ผ่านกิจกรรม:

ส่งแก้วน้ำ

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

ได้ขยับร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ หยิบจับอุปกรณ์

อารมณ์-จิตใจ

การควบคุมอารมณ์ตนเอง การแสดงออกอย่างสนุกสนาน

สังคม

การร่วมเล่นกับเพื่อน ๆ แบ่งปัน มีน้ำใจ ช่วยเหลือกันและกัน

สติปัญญา

การคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็น

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กมีพฤติกรรมที่คอยช่วยเหลือกัน มีน้ำใจกับเพื่อน ๆ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

การบอกเล่าสิ่งต่างๆ ตามความรู้สึก

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

การสร้างเจตคติที่ดี การแสดงความรู้สึก การปฏิบัติตนร่วมกับผู้อื่น

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 -เด็กนังผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แล้วนอนราบกับพื้น ค่อยๆ หลับตาลง โดยครูเปิดเพลงบรรเลงเบาๆ -เด็กนั่งเป็นวงกลม ครูและเด็กส่งมอบความรักให้แก่กันและกัน ผ่านการส่งแก้วน้ำ โดยการส่งต่อให้เพื่อนทีละคน เด็กแสดงความขอบคุณและมอบรอยยิ้มให้ผู้ให้และผู้รับ เพื่อสร้างพลังบวกก่อนการเริ่มต้นวันใหม่อย่างมีความหมาย -ช่วยให้สมองตื่นตัวและยังช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้รู้สึกสดใส พร้อมที่จะเรียนรู้ -เด็กได้รับบรรยากาศในชั้นเรียนที่เป็นห้องเรียนแห่งความสุข ห้องเรียนที่อ่อนโยน ห้องเรียนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ
2 -ครูนำภาพการมีส่วนร่วมในชุมชนมาให้เด็กดู -ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมให้ชุมชนน่าอยู่ เช่น การรักษาความสะอาด การทิ้งขยะลงในถังขยะ -ครูให้เด็กเล่นบทบาทสมมุติ โดยใช้ห้องเรียนเป็นชุมชนของเด็กๆ ให้เด็กช่วยกันทำความสะอาด และเก็บขยะ -ครูเคาะกลองเป็นสัญญาณหมดเวลาเล่น เด็กนั่งพัก และร่วมกันสรุปกิจกรรม เพื่อให้เด็กจดจำและนำไปใช้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

เพลงบรรเลง, กลอง, แก้วน้ำ

สำหรับเด็ก:

-

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดสภาพแวดล้อมในห้องให้เป็นระเบียบและปลอดภัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ใช้เพลงบรรเลงเพื่อให้เด็กมีสมาธิ และจดจ่อ

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ดูแลตอบสนองความต้องการของเด็ก ให้ความรู้สึกปลอดภัย