EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: อาหารดีมีอยู่รอบตัว

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 3-4 ปี     เวลา: 10 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: เอกชัย ลุนเสนา | เมื่อ: 29-09-2023 11:32

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

ทราบประโยชน์และโทษของอาหารที่รับประทานแต่ละชนิด

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของตนเอง

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

มีสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหาร

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของตนเอง

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

1.เรียนรู้ประโยชน์และโทษของอาหารที่รับประทานแต่ละชนิด 2.การสร้างสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ผ่านกิจกรรม:

ส่งมอบกำลังใจให้แก่กันและกันผ่านดอกไม้

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหว หยิบจับสื่งของต่างๆ

อารมณ์-จิตใจ

ได้รับพลังบวก ความรู้สึกที่ดี

สังคม

การเล่นและทำงานร่วมกัน

สติปัญญา

ได้คิด วิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็นของตนเอง

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม และกล้าแสดงออก


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กบอกถึงสิ่งที่ตนเองเคยเห็นที่บ้าน หรือเคยปฏิบัติ

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เป็นผู้ให้และผู้รับที่ดี

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 1.เด็กเคลื่อนไหวร่างกายอิสระตามจังหวะ โดยครูให้สัญญาณกลองเคาะจังหวะ 2.ครูและเด็กร่วมกันสร้างและกำหนดข้อตกลงในการแสดงท่าทาง 3.ครูและเด็กๆ เคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง เพื่อให้เด็กได้มีความชำนาญในการกลับมารู้ตัวได้เสมอๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เด็กรู้เท่าทันอารมณ์และการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในแต่ละขณะ จะได้รู้ว่าควรหยุดหรือดำเนินกิจกรรมนั้นต่อ โดยใช้จังหวะควบคุมร่างกาย ช่วยให้สมองตื่นตัวและยังช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้รู้สึกสดใส พร้อมที่จะเรียนรู้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ
2 1.ครูทำกิจกรรมจิตศึกษาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยเด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกาย ที่ต้องใช้ประกอบการทำกิจกรรม 2.ครูซักถามเด็กทีละคนอยากมอบดอกไม้ให้ใคร 3.ครูและเด็กๆส่งมอบความรักให้แก่กันและกันผ่านดอกไม้ โดยการส่งต่อให้เพื่อนทีละคน เด็กแสดงความขอบคุณและมอบรอยยิ้มให้ผู้ให้และผู้รับสร้างพลังบวกก่อนการเริ่มต้นวันใหม่อย่างมีความหมาย 4.ครูกับเด็กร่วมสนทนาสรุปเกี่ยวกับการมอบความรักด้วยดอกไม้ เด็กได้รับบรรยากาศในชั้นเรียนที่เป็นห้องเรียนแห่งความสุข ห้องเรียนที่อ่อนโยน ห้องเรียนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 1.ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง คำกล่าวทานข้าว พร้อมๆ กัน โดยครูเคาะกลองให้จังหวะ 2.ครูนำภาพอาหารที่มีประโยชน์ และให้เด็กร่วมแสดงความคิดเห็นทีละคน 3.ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม เพื่อให้เด็กจดจำและนำไปใช้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.กลอง 2.คำคล้องจอง "คำกล่าวทานข้าว" 3.ภาพอาหารที่มีประโยชน์

สำหรับเด็ก:

-

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดสภาพแวดล้อมในห้องให้เป็นระเบียบและปลอดภัย สอดคล้องกับการเรียนรู้

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ใช้การเคาะเครื่องดนตรีที่มีเสียงเคาะเป็นจังหวะเรียกให้เด็กมีสมาธิ และจดจ่อ

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ดูแลตอบสนองความต้องการของเด็ก การทานอาหารให้อิ่ม นอนพักผ่อนให้เพียงพอ