EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ต้นไม้ที่รัก (ใบไม้แห้ง)

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 3-4 ปี     เวลา: 10 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: ชิดชนก นามแสงกาง | เมื่อ: 02-10-2023 14:48 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 02-10-2023 14:58

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

การมองเห็นคุณค่าของตนเองและการมองเห็นคุณค่าของผู้อื่น

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างต้นไม้กับชีวิต

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

การรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เด็กทำได้

ผ่านกิจกรรม:

จิตศึกษา ใบไม้แห้ง

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การสัมผัส การควบคุมกล้ามเนื้อมือ แขน

อารมณ์-จิตใจ

การแสดงความรู้สึกของตนเอง

สังคม

การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

สติปัญญา

การลำดับขั้นตอน การสังเกต การคิดวิเคราะห์

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

ให้เด็กเกิดการคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างต้นไม้กับชีวิตถ่ายทอดเป็นภาพตามจินตนาการ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กบอกได้ว่า ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิต

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

มีสติ จดจ่อ รู้ตัว และเห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงของตนเองกับสิ่งรอบตัว

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูเปิดเพลง spa คลอเบาๆ ให้เด็กนั่งเป็นวงกลมทุกคนหลับตาสมาธิ อยู่กับตัวเองและฟังเสียงธรรมชาติ 3-4 นาที นำเด็กเข้าสู่ความสนใจเกี่ยวกับคุณค่าของต้นไม้ และทบทวนความรู้ และประสบการณ์ของเดิมของเด็กเกี่ยวกับต้นไม้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ
2 1.ครูให้เด็กไปเลือกเก็บ ใบไม้แห้งที่ตนเองชอบคนละ 1 ใบและสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว ในขณะที่เดินกลับมาห้องเรียนหลังเคารพธงชาติ 2.ครูกระตุ้นด้วยคำถาม ดังนี้ “เด็กๆ เก็บใบอะไรมา/เหตุใดถึงเลือกใบไม้ชนิดนั้น” “ใบไม้แห้งมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับตัวเราและสิ่งนี้อย่างไร” 3.เด็กๆ เสนอความคิดเห็นร่วมกัน 4.ครูกับเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ การเห็นคุณค่าตัวเองและผู้อื่น การยอมรับและเคารพในความแตกต่าง 5.ครูพูดเสริมแรง ชื่นชมในความตั้งใจของเด็ก 6.ครูและเด็กไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม มีสติ จดจ่อ รู้ตัว และเห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงของตนเองกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
3 1. เด็กพูดคำคล้องจอง “ต้นไม้ที่รัก” ตามครูทีละวรรค 2 ครั้ง 2. ครูทบทวนข้อตกลงในการไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน โดยการพาเด็กไปดูต้นไม้บริเวณศูนย์ฯ 3. เด็กสังเกตต้นไม้ในศูนย์ฯ มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่นบางต้นสูง มีใบน้อย บางต้นเตี้ยมีใบมาก เป็นต้น 4. ครูและเด็กสนทนาการเปรียบเทียบเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของต้นไม้ 5. เด็กเก็บใบไม้ที่หล่นลงบนพื้น คนละ 5 ใบ ครูตรวจใบไม้เด็กว่าครบตามจำนวนที่กำหนดหรือไม่ จากนั้นให้นับใบไม้ที่เก็บได้พร้อมๆ กัน แล้วนำไปทิ้งที่ถังขยะ และล้างมือให้สะอาด 6. เด็กและครูเดินกลับห้องเรียนและร่วมสรุปรูปร่างลักษณะของต้นไม้พร้อมพูดทบทวนคำคล้องจอง เกิดการคิดเชื่อมโยง ยืดหยุ่นความคิดตนเอง และจำเพื่อนำไปใช้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.กลอง 2.เพลงspa 3.คำคล้องจอง “ต้นไม้ที่รัก” 4.ต้นไม้, ใบไม้

สำหรับเด็ก:

-

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

-พื้นที่สงบ และปลอดภัย -แหล่งเรียนรู้ตามหน่วย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

การเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้เป็นเจ้าของต้นไม้, เด็กทุกคนได้รับโอกาสให้เป็นเจ้าของต้นไม้, เด็กได้รับคำชื่นชมถึงความพยายาม

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

สภาพแวดล้อมที่สงบ ผ่อนคลาย และการยอมรับความคิดเห็น