EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ต้นไม้ที่รัก (โยคะ ท่างู)

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 3-4 ปี     เวลา: 10 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: ชิดชนก นามแสงกาง | เมื่อ: 02-10-2023 15:10

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

การมองเห็นคุณค่าของตนเองและการมองเห็นคุณค่าของผู้อื่น

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างต้นไม้กับชีวิต

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

การรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เด็กทำได้

ผ่านกิจกรรม:

โยคะ ท่างู

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การสัมผัส การควบคุมกล้ามเนื้อมือ แขน

อารมณ์-จิตใจ

การแสดงความรู้สึกของตนเอง

สังคม

การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

สติปัญญา

การลำดับขั้นตอน การสังเกต การคิดวิเคราะห์

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กเกิดการคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างต้นไม้กับชีวิตถ่ายทอดเป็นภาพตามจินตนาการ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กบอกได้ว่า ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิต

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

มีสติ จดจ่อ รู้ตัว และเห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงของตนเองกับสิ่งรอบตัว

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูเปิดเพลง spa คลอเบาๆ ให้เด็กนั่งเป็นวงกลมทุกคนหลับตาสมาธิ อยู่กับตัวเองและฟังเสียงธรรมชาติ 3-4 นาที นำเด็กเข้าสู่ความสนใจเกี่ยวกับคุณค่าของต้นไม้ และทบทวนความรู้ และประสบการณ์ของเดิมของเด็กเกี่ยวกับต้นไม้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
2 1.ครูทำกิจกรรมจิตศึกษา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยเด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการมีสติ จดจ่อ รู้ตัว และเห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงของตนเองกับสิ่งของ 2.ให้เด็กนอนคว่ำ วางมือไว้ข้างลำตัวตั้งข้อศอกขึ้น แล้วค่อย ๆ หลับตา จากนั้นหายใจเข้าลึก ๆ พร้อมดันข้อศอกขึ้น แล้วดันตัวขึ้นช่วงบนขึ้น เงยหน้าขึ้นให้มากที่สุด แล้วหายใจออกช้า ๆ 3.ค้างท่าไว้ แล้วควบคุมลมหายใจเข้า-หายใจออก ประมาณ 5 ครั้ง แล้วลดลำตัวลงกลับมาสู่ท่านอนคว่ำ 4.ครูกล่าวขอบคุณเด็กๆ และให้เด็กๆ กล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน 5.ครูกับเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ มีสติ จดจ่อ รู้ตัว และเห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงของตนเองกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 1.ครูร้องเพลง “พรวนดิน” ให้เด็กฟังทีละวรรคอย่างช้าๆ 2 รอบ หลังจากนั้นให้เด็กออกเสียงตาม 2. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง “พรวนดิน” พร้อมๆ กัน 3. ครูทบทวนความรู้เดิม การออกไปสำรวจต้นไม้บริเวณศูนย์ฯ 4. เด็กร่วมกันสนทนาบอกส่วนประกอบของต้นไม้ 5. ครูนำภาพส่วนประกอบของต้นไม้และอธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบของต้นไม้ พร้อมทั้งตั้งคำถาม ดังนี้ - ถ้าเด็กๆ เลือกได้เด็กๆ อยากเป็นส่วนไหนของต้นไม้ เพราะอะไร 6. ครูกับเด็กช่วยกันสรุปเกี่ยวกับส่วนประกอบของต้นไม้พร้อมพูดทบทวนคำคล้องจอง เกิดการคิดเชื่อมโยง ยืดหยุ่นความคิดตนเอง และจำเพื่อนำไปใช้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.กลอง 2.เพลงspa 3.เพลง“พรวนดิน”

สำหรับเด็ก:

-

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

-พื้นที่สงบ และปลอดภัย -เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหน่วย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

การเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้เป็นเจ้าของต้นไม้, เด็กทุกคนได้รับโอกาสให้เป็นเจ้าของต้นไม้, เด็กได้รับคำชื่นชมถึงความพยายาม

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

สภาพแวดล้อมที่สงบ ผ่อนคลาย และการยอมรับความคิดเห็น