EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: โลกสวยด้วยมือเรา (Body scan ท่าไหว้พระอาทิตย์)

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 3-4 ปี     เวลา: 10 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางศิราณี บุญชู | เมื่อ: 04-10-2023 15:35

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

การรู้จักธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การเชื่อมโยงความคิดของตนเองกับธรรมชาติ

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

การร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ผ่านกิจกรรม:

จิตศึกษา Body scan ท่าไหว้พระอาทิตย์

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และกล้ามเนื้อมัดใหญ่

อารมณ์-จิตใจ

ความแสดงความพึงพอใจในการทำสำเร็จ​ กล้าพูด​กล้าแสดงออกอย่างสนุกสนาน

สังคม

การทำงานร่วมกับผู้อื่น​ การปฏิบัติตามข้อตกลง​ การแก้ไขปัญ​หาเมื่อมีผู้ชี้แนะ

สติปัญญา

การสนทนาโต้ตอบได้​ มีความคิดสร้างสรรค์​ การเปรียบเทียบ​ การคาดเดา

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

ออกแบบ ยืดหยุ่นความคิด จนสำเร็จได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

บอกเล่าสิ่งที่เคยเห็น หรือเคยปฏิบัติได้

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

การควบคุมอารมณ์ตนเอง การสร้าสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 1.ครูเปิดเพลง spa คลอเบาๆ ให้เด็กนั่งเป็นวงกลมทุกคนหลับตาสมาธิ อยู่กับตัวเองและฟังเสียง 3-4 นาที 2.ครูทำกิจกรรมจิตศึกษา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยเด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการใช้ร่างกายทำ Body scan ที่ต้องใช้ประกอบการทำกิจกรรม 3.ครูให้เด็กวาดมือทั้งสองข้างขึ้น สูดลมหายใจเข้าลึกๆ วาดแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะของเราค้างไว้กลั้นลมหายใจไว้นิดหนึ่ง  ค่อยๆ วาดมือลงพร้อมกับผ่อนลมหายใจออก  ขาตรงแขนตรงปลายนิ้วแตะถึงพื้นได้จะเยี่ยมมาก  ค้างไว้นับ 1 2 3 4 5  สูดลมหายใจเข้าลึกๆ พร้อมกับวาดมือขึ้นแขนตรงแอ่นตัวไปด้านหลังนิดหนึ่งเกรงค้างไว้ (ทำซ้ำกัน 3 ครั้ง) 4.ครูกับเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ มีสติ จดจ่อ รู้ตัว และเห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงของตนเองกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า นำเด็กเข้าสู่ความสนใจเกี่ยวกับบทเรียน และทบทวนความรู้ และประสบการณ์ของเดิมของเด็ก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
2 1.ครูร้องเพลง“พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง” ให้เด็กฟังทีละวรรคอย่างช้าๆ 2 รอบ หลังจากนั้นให้เด็กออกเสียงตาม 2. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง“พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง” พร้อมๆ กัน 3. ครูซักถามเด็กทีละคนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในเวลากลางวัน 4. เด็กและครูสนทนาถึงการปฏิบัติตนในเวลากลางวัน คือ ไม่ควรเล่นกลางแดด เพราะจะทำให้ไม่สบายได้ เวลาเดินไปที่มีแสงแดด จัดควรสวมหมวกหรือกางร่ม 5. ครูกับเด็กช่วยกันสรุปเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในเวลากลางวัน เกิดการคิดเชื่อมโยง ยืดหยุ่นความคิดตนเอง และจำเพื่อนำไปใช้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.กลอง 2.เพลงspa 3.คำคล้องจอง พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง

สำหรับเด็ก:

-

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

มีพื้นที่กว้างสำหรับทำกิจกรรม​ได้ สะอาด ปลอดภัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

เปิดโอกาสให้เด็กได้ยืดหยุ่ดความคิด คอยให้กำลังใจและชื่นชมเมื่อเด็กทำได้

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ให้อิสระทางความคิด เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างมีความสุข