EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ปลอดภัยในยานพาหนะ

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 3-4 ปี     เวลา: 10 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: จุฑามาศ ประสิทธิ์ | เมื่อ: 05-10-2023 14:53

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

รู้จักภัยรอบตัวเมื่ออยู่ในสถานที่และสถานการณ์ต่างๆ

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การระวังตนเองเมื่อเกิดภัยในสถานที่และสถานการณ์ต่าง

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กเมื่ออยู่ในสถานที่สาธารณะ

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

วิธิปฏิบัติ ระมัดระวังตัวเพื่อให้พ้นภัย

ผ่านกิจกรรม:

จิตศึกษา Body scan การฟังเรื่องเล่า

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อใหญ่ การเคลื่อนไหวในการควบคุมดูแลตนเองในทิศทาง ระดับและพื้นที่

อารมณ์-จิตใจ

การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น

สังคม

การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การปฏิสัมพันธ์ มีวินัย มีส่วนร่วมและบทบาทสมาชิกของสังคม

สติปัญญา

การใช้ภาษาการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ การพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกและความต้องการ การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือพูดเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

การเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กได้เรียนรู้และบอกเล่าเรื่องราวในการปฏิบัติตนเมื่อเกิดภัยและวิธิป้องกันอันตรายจากภัยต่างๆ

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ซึ่งไม่เคยรู้และได้ลงมือปฏิบัติจริง

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 1.ครูทำกิจกรรมจิตศึกษา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยเด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการใช้ร่างกายทำ Body scan (การฟังเรื่องเล่า) ที่ต้องใช้ประกอบการทำกิจกรรม 2.ครูให้เด็กนอนในท่าที่สบาย ปิดเปลือกตาลง ให้หายใจเข้าออกยาวๆ สี่ถึงห้าครั้งเพื่อจับความรู้สึกที่ปลายจมูกที่ปรากฏชัด แล้วจดจ่อเพื่อรับรู้ความรู้สึกที่ปลายจมูกอย่างต่อเนื่อง 3.ครูให้เด็กจินตนาการว่ามีลูกโป่งอยู่ที่ท้องของเรา หายใจเข้าลูกโป่งที่ท้องของเราพองออก หายใจออกลูกโป่งแฟบลง เราตามดูการพองและแฟบของลูกโป่งที่อยูตรงท้องเราสักระยะ (ฝึกให้หายใจด้วยท้องเพื่อให้ปอดได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด) เด็กๆ รู้สึกผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกาย ร่างกายของเรารู้สึกผ่อนคลาย จากนั้นครูเล่าเรื่อง ให้เด็กจินตาการตาม 4.ครูนับ 1 บอกตัวเองว่าเราน่ารัก/ นับ 2 บอกว่าเราเป็นคนที่รู้เวลา/ นับ 3 บอกว่าเราเป็นคนที่รักคุณพ่อ รักคุณแม่/ นับ 4 บอกว่าเรารักเพื่อนๆ รักคุณครู รักทุกๆ คน/ นับ 5 ทุกๆ คน ก็รักเรา/ นับ 6 เราเป็นคน ที่ตั้งใจเรียน/ นับ 7 เราจะเล่นกับเพื่อนทุกคน/ นับ 8 เราเป็นคนที่มีน้ำใจแบ่งของเล่นให้กับเพื่อน/ นับ 9 บอกตัวเองว่าเราเป็นคนที่มีความสุขที่สุดที่ได้มาโรงเรียนในวันนี้/ นับ 10 บอกให้ตัวเองลุกขึ้นนั่งช้าๆ 5.ครูกับเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ มีสติ จดจ่อ รู้ตัว และเห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงของตนเองกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า นำเด็กเข้าสู่ความสนใจเกี่ยวกับบทเรียน และทบทวนความรู้ และประสบการณ์ของเดิมของเด็ก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
2 1.ครูร้องเพลง “ยานพาหนะ” ให้เด็กฟังทีละวรรคอย่างช้าๆ 2 รอบ หลังจากนั้นให้เด็กออกเสียงตาม 2. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง “ยานพาหนะ” พร้อมๆ กัน 3. ครูซักถามเด็กทีละคนเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้รถจักรยานยนต์ 4. เด็กและครูสนทนาถึงความปลอดภัยในการใช้รถจักรยานยนต์ เช่น การสวมหมวกนิรภัย การปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร 5. ครูกับเด็กช่วยกันสรุปเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้รถจักรยานยนต์ เพื่อให้เด็กรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ยานพาหนะต่างๆและวิธีป้องกันภัยจากสถานการณ์จริงและสามารถนำไปปฏิบัติได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.เพลง “ยานพาหนะ” 2.เรื่องเล่าเกี่ยวกับสถาณการณ์ในการใช้ยานพาหนะ และวิธีป้องกันภัยจากสถานการณ์จริง

สำหรับเด็ก:

-

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

การจัดสภาพแวดล้อมเน้นความปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ให้เด็กได้เรียนรู้และได้ลงมือปฏิบัติจริง

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

จัดให้เด็กได้เรียนรู้และสนุกในการได้ลงมือปฏิบัติ