EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: บ้านของเรา

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 5 ขวบ     เวลา: 45 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์

บันทึกหลังจากการจัดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 1



สร้างโดย: ชิตพงษ์ กิตตินราดร | เมื่อ: 01-11-2021 14:50 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 17-03-2022 21:56

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีในครอบครัวเป็นสิ่งที่ "หนูทำได้"

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

บทบาทหน้าที่ของตนเองและสมาชิกในครอบครัว

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว

ผ่านกิจกรรม:

เล่นบทบาทสมมุติ

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

สติปัญญา

คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

1. เด็กบอกบทบาทหน้าที่ของตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้ 2. เด็กบอกได้ว่าการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวต้องทำอย่างไร 3. เด็กบอกได้ว่าตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวหรือไม่ เพราะเหตุใด และจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ช่วยเหลือตัวเอง หรืองานในบ้าน โดยพ่อแม่ต้องคอยบอกให้ทำหรือเตือนให้ทำ

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

รู้ว่าการช่วยเหลือต้วเองและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นการแสดงออกของสมาชิกที่ดีในครอบครัว ที่เด็กๆ ก็ทำได้

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 1.ร่วมกันร้องเพลง “บ้านของฉัน” และครูสนทนากับเด็กถึงเนื้อหาในนิทาน และเชื่อมโยงสู่ครอบครัวของเด็กๆ โดยใช้คำถาม เช่น ในบ้านมีใครบ้าง สมาชิกในบ้านมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง (ครูบันทึกลงผังความคิดขณะเด็กพูด) เพื่อนำเด็กสู่ความสนใจเรื่องครอบครัว ให้เด็กนึกทบทวนประสบการณ์เดิม และตระหนักว่าตัวเองเป็นสมาชิกในครอบครัว
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน
2 2.แบ่งกลุ่มเด็ก กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่ม เป็น 1 ครอบครัว พูดคุยกับถึงสมาชิกในครอบครัวของเรา จะมีใครบ้าง แต่ละคนมีบทบาทอย่างไรบ้าง มีเงื่อนไขว่าทุกบ้านมีลูก เพื่อให้เด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน
3 3. ตกลงกัน เลือกเป็นสมาชิกในครอบครัวเพื่อเล่นบทบาทสมมุติ เพื่อแสดงบทบาทของสมาชิกในครอบคร้ว และร่วมกันวางแผนและทำงานกลุ่ม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
4 4. ชวนเด็กสรุปถึงบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว และบอกได้ว่าการเป็นสมาชิกที่ดีในครอบครัวดีอย่างไร หน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวเป็นเรื่องของทุกคน และเด็กก็ทำหน้าที่สมาชิกที่ดีได้ (ครูบันทึกต่อเนื่องในผังความคิดที่เด็กพูด) เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน
5 5.เด็กบอกได้ว่าตนจะรักษาหน้าที่ที่ดีไว้ และจะทำหน้าที่ให้ดีขึ้นได้อย่างไร” ครูสรุปโดยใช้ผังความคิด เพื่อทบทวนและมีแนวทางพัฒนาตนเองได้
สร้างเสริม EF ด้าน: ติดตาม ประเมินตนเอง

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

กระดาน Flip Chart ปากกา ทำแผงความคิด บันทึกสิ่งที่เด็กพูดคุยในกลุ่มใหญ่

สำหรับเด็ก:

อุปกรณ์เล่นบทบาทสมมุติ เช่น หมวก แว่นตา กระเป๋าถือ รองเท้า ผ้าพันคอ (ของจริงหรือของจำลอง หรือสิ่งที่เด็กประดิษฐ์ขึ้นในคาบก่อนหน้า)

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยได้

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

- เปิดโอกาสให้เด็กได้มีอิสระที่จะตกลงกันเองว่าจะเล่นเป็นบทบาทใด - ชวนเด็กๆ ชื่นชมเพื่อน เมื่อบอกได้ว่าตนเองทำอะไรที่ดีและคิดจะปรับปรุงตัวเองอย่างไร

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

- จัดวางหนังสือเกี่ยวกับครอบครัว (ได้ทั้งคนและสัตว์) ในมุมหนังสือและชี้ชวนให้เด็กอ่าน - จัดมุมบทบาทสมมุติที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในบ้าน