EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ปลูกผักบุ้งกันเถอะ

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 3     เวลา: 100 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสุดาทิพย์ ธีรธวัช | เมื่อ: 18-03-2022 11:17

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เด็กมีความภาคภูมิใจในการลงมืองานด้วยตนเองและประสบผลสำเร็จ

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เด็กมีองค์ความรู้ในการปลูกผักบุ้ง

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

ด้านสติปัญญา และด้านอารมณ์

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

วิธีการปลูกผักบุ้ง

ผ่านกิจกรรม:

เด็กสามารถอธิบายได้ว่าการวิธีการปลูกผักบุ้งจะต้องทำอย่างไรบ้าง

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

อารมณ์-จิตใจ

เด็กจะต้องมีการฝึกความอดทน ในการจัดการกับขั้นตอนต่างๆ ของการปลูกผักบุ้ง

สติปัญญา

เด็กมีความรู้และสามารถนำความรู้มาลงมือปฏิบัติและแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กสามารถอธิบายขั้นตอน รวมถึง เมื่อเจอปัญหาสามารถหาวิธีการแก้ไข เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ครูตั้งคำถาม - เด็กรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมปลูกผักบุ้งในครั้งนี้ - เด็กเคยปลูกผักชนิดอื่นหรือไม่ มีความเหมือน/ต่างอย่างไร - เจอปัญหาอะไร และ แก้ปัญหาอย่างไร เป็นต้น

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

- คำถามนำหากอยากให้พืชเจริญเติบโต พืชต้องการสิ่งใด - หากเราต้องการเจริญเติโต เราต้องได้รับอะไร

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ครูพูดถึงธรรมชาติรอบตัว พืชผักสวนครัว/ ความสามารถในการปลูกผักได้ด้วยตนเอง 2. ครูนำเมล็ดมา และให้เด็กลงมือปลูกตามขั้นตอนที่เด็กได้เรียนรู้ 3. เมื่อครบระยะเวลา ให้นักเรียนพูดถึงกิจกรรมที่ได้ทำ/ความรู้สึก 4. ครูนำผลกิจกรรมมาประเมิน ในห้วข้อ ท้าทาย ทดลอง ทบทวน สอดคล้อง และเหมาะสม 1. เพื่อให้เด็กมีความารู้เรื่องขั้นตอนการปลูกผักบุ้ง 2. เพื่อให้เด็กรู้จักวิธีการแก้ปัญหา 3. เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

สถานที่ ดิน อุปกรณ์รดน้ำ/พรวนดิน

สำหรับเด็ก:

การแต่งกายที่เหมาะสม เมล็ดพืช

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

ปลอดภัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

การสำรวจ กระตุ้นการใฝ่รู้

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

อบอุ่นปลอดภัย ผ่อนคลาย