EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: หนูทำได้

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาลปีที่ 3     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: Pailin Klongdee | เมื่อ: 18-03-2022 11:25

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เด็กรู้จักมารยาทในการทักทายผู้อื่น

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

การทักทาย หรือการแสดงความเคารพเป็นมารยาทที่ดีของสังคมไทย

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การแสดงความเคารพโดยการไหว้ที่ถูกต้อง

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

พบครูในโรงเรียน หรือพบผู้ปกครองของเพื่อนสามารถทักทายด้วยการยกมือไหว้โดยไม่มีผู้ชี้แนะ พบเพื่อนๆ กล่าวคำทักทายได้อย่างมั่นใจ

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

การทำความเคารพด้วยยกมือไหว้ใช้กับผู้ที่อายุมากกว่า

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

การปฏิบัติตนตามมารยาทไทย

ผ่านกิจกรรม:

ฟังนิทาน และเล่นบทบาทสมมุติ

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน

ทักษะกำกับตนเอง:

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้ลงมือทำ ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

อารมณ์-จิตใจ

ฟังนิทาน และแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นต่อนิทานเรื่องที่ได้ฟัง

สังคม

แสดงออกผ่านบทบาทสมมุติเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ ที่กำหนดขึ้นร่วมกับเพื่อนๆ

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กๆ มีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติตนตามมารยาทไทย และปฏิบัติตนตามมารยาทไทยได้เหมาะสม


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

การพูดแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นของเด็กหลังจากการฟังนิทาน และการแสดงออกของเด็กเมื่อพบเจอสถานการณ์ที่กำหนดให้ โดยแสดงออกตามความคุ้นเคยจากประสบการณ์เดิมของตนเอง

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

การปฏิบัติตนตามมารยาทไทยที่เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูกำหนดสถานการณ์จำลอง ให้เด็กๆ แสดงออกตามประสบการณ์เดิม เด็กๆ แสดงออกตามประสบการณ์เดิมของตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: ติดตาม ประเมินตนเอง
2 ครู และเด็กร่วมกันฟังนิทาน พร้อมพูดคุยสนทนาถึงเนื้อหาต่างๆ ในนิทาน เด็กๆ ได้คิดวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างจากนิทานที่ได้ฟัง
สร้างเสริม EF ด้าน: ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ
3 ครูกำหนดสถานการณ์จำลองให้เด็กๆ ได้แสดงออกจากข้อคิด และการสนทนาต่างๆ จากนิทานที่ได้ฟังมา เด็กๆ ได้แสดงบทบาทสมมุติ ฝึกปฏิบัติการแสดงความเคารพ กล่าวคำทักทายที่เหมาะสมตามมารยาทไทย
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ริเริ่มและลงมือทำ
4 ครู และเด็กร่วมกันสรุปการปฏิบัติตนตามมารยาทไทยที่เหมาะสม เด็กๆ เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามมารยาทไทย
สร้างเสริม EF ด้าน: ยืดหยุ่นความคิด ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

นิทาน

สำหรับเด็ก:

ตัวเด็ก

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

พื้นที่ว่างในห้องเรียน

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

กำหนดสถานที่ต่างๆ ในโรงเรียนที่เด็กๆ คุ้นเคย

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

-