EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: การเคารพกันและกัน

ระดับชั้น/ช่วงวัย: ระดับอนุบาล 1     เวลา: 20 นาที นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางอานันท์ปภา ฉลาดเอื้อ | เมื่อ: 18-03-2022 11:30

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีความเคารพซึ่งกันและกัน

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

การเคารพซึ่งกันและกัน เป็นให้ความรุู้สึกดี ๆ ต่อกัน เชื่อใจ ไว้ใจ มีน้ำใจต่อกัน

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การสื่อสาร การพูดจาให้กำลังใจกัน การทำงานร่วมกัน มีน้ำใจ แบ่งปัน ช่วยเหลือ การยอมรับ การความรู้สึกที่ดีต่อกัน ช่วยเหลือกัน แบ่งปัน ไม่รังแกกัน

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

การอยุู่ร่วมกัน การเล่นด้วยกัน อย่างมีความสุข มีการความรู้สึกที่ดีต่อกัน ช่วยเหลือกัน แบ่งปัน ไม่รังแกกัน

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

การเคารพซึ่งกันและกัน เป็นการยอมรับในสิ่งที่เขาเป็นเข้าใจกัน ไม่ทำร้ายกัน ให้กำลังใจกัน

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

- การสื่อสาร การพูดคุย การพูดจาไพเราะไม่พูดหยาบคาย ไม่สุภาพ - การแสดงออก อย่างสุภาพ ไม่แย่งของเล่นกัน มีน้ำใจ ยั้บยั้งชั่งใจ ไม่โวยวาย

ผ่านกิจกรรม:

เกมการศึกษา : สัตว์เลี้ยงในบ้านฉัน

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

นักเรียนได้ขยับร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ หยิบจับอุปกรณ์เพื่อใช้ในการแต่งตัว เป็นสัตว์ต่าง ๆ แสดงท่าทางประกอบในการสมมุติเป็นสัตว์ เหล่านั้น

อารมณ์-จิตใจ

การควบคุมอารมณ์ตนเอง ในการเลือกตัวสัตว์ต่าง ๆ ถ้าไม่เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ไม่โวยวาย และเลือกตัวอื่น ที่ไม่ต้องแย่งชิงกับเพื่อน ๆ และสามารถบอกเหตุผลยืดหยุ่นความคิดได้

สังคม

มีการร่วมเล่นกับเพื่อน ๆ แบ่งปัน มีน้ำใจ ช่วยเหลือกันและกัน

สติปัญญา

วิเคราะห์ว่า สัคว์ตัวไหนบ้างที่เป็นสัตว์เลี้ยง ทำไมนักเรียนจึงติดเช่นนั้น

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

นักเรียนมีพฤติกรรมที่คอยช่วยเหลือ มีน้ำใจกับเพื่อน ๆ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เป็นความรู้เดิมที่นักเรียนได้เรียนรู้มาจากครอบครัว ว่าที่บ้านเรา เราเคยเห็นสัตว์อะไรบ้าง

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของสัตว์เลี้ยง ว่ามีอะไรบ้าง สัตว์เลี้ยงใดที่เป็นอันตราย ที่เราไม่ควรเข้าใกล้ สัตว์เลี้ยงอะไร ที่เราเลี้ยงเป็นอาหาร เลี้ยงไว่ดูเล่น

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 การนำเข้าสู่บทเรียน ครูสอบถามนักเรียนว่านักเรียนรู้สัตว์อะไรบ้าง เพื่อให้นักเรียนได้บอกชื่อสัตว์ต่าง ๆ ที่นักเรียนรู้จัก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน
2 การดำเนินกิจกรรม 1.คุณครูให้นักเรียนเลือกรูปสัตว์ต่าง ๆ ที่ครูนำมาให้ 2.คุณครูให้นักเรียนเข้ากลุ่ม เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสัตว์เลี้ยง กลุ่มที่ไม่ไช่สัตว์เลี้ยง 3. คุณครูให้นักเรียนช่วยกันบอกเหตุผลว่าทำเป็นไมถึงเป็นสัตว์ และ ทำไมถึงไม่่เป็นสัตว์เลี้ยง เพื่อให้นักเรียนสามารถแยกได้ว่าสัตว์ประเภทใดเป็นสัตว์เลี้ยง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 ครูและนักเรียนช่วยสรุปว่า สัตว์เลี้ยง มีอะไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร เพื่อนักเรียนสามารถวิเคราะห์และบอกประโยชน์ของสัตว์เลี้ยงได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง
4 ครูประเมินผล จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อประเมินผลความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องสัตว์เลี้ยงในบ้านฉัน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

แผ่นภาพ สัตว์ต่าง ๆ ที่มีทั่วไปทั้งสัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า

สำหรับเด็ก:

หน้ากาก หัวสัตว์ต่าง ๆ ที่มีทั่วไปทั้งสัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

การจัดสื่อ อุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การหยิบจับอุปกรณ์

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

การจัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เด็กคิด แก้ปัญหา เชิญชวนให้เด็กอยากค้นคว้า สำรวจ ทดลอง เพื่อตอบสนองความสนใจ หรือหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ห้องเรียนทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว