EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: มาปลูกต้นไม้กันเถอะ

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 3     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์

บันทึกหลังจากการจัดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 1



สร้างโดย: ชิตพงษ์ กิตตินราดร | เมื่อ: 01-11-2021 23:48 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 17-03-2022 21:59

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคนและหนูก็ทำได้

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

วิธีการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เด็กสามารถทำได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

วิธีการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เด็กทำได้

ผ่านกิจกรรม:

ปลูกต้นไม้

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การถือ จับ ควบคุมกล้ามเนื้อมือ แขน

สังคม

การทำงานร่วมกัน

สติปัญญา

การลำดับขั้นตอน

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

1. บอกขั้นตอนการปลูกต้นไม้ได้ 2. ปลูกต้นไม้ได้ 3. บอกความหมายและยกตัวอย่างของกิจกรรมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ 4. บอกได้ว่าการปลูกต้นไม้เป็นวิธีหนึ่งของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. บอกได้ถึงความรู้สึกของตนเองเมื่อปลูกต้นไม้เสร็จ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กรู้ว่าต้นไม้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่คนเราต้องช่วยกันดูแลรักษา

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กสามารถปลูกต้นไม้ได้ด้วยตนเอง และการปลูกต้นไม้เป็นวิธีหนึ่งของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, เด็กรู้ความหมายของคำว่าอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 พาเด็กไปนั่งใต้ต้นไม้ และฟังนิทานเรื่อง ต้นไม้แสนรัก ครูถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในนิทาน และชวนคิดต่อเนื่อง เช่น ถ้าเราไม่มีต้นไม้จะเป็นอย่างไร ต้นไม้ชอบ/ไม่ชอบอะไร เราควรทำอย่างไรกับต้นไม้ ปลูกต้นไม้ดีอย่างไร นำเด็กเข้าสู่ความสนใจเกี่ยวกับคุณค่าของต้นไม้ และทบทวนความรู้ และประสบการณ์ของเดิมของเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เด็กบอกได้ว่าการปลูกต้นไม้เป็นวิธีหนึ่งของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
2 เชิญชวนเด็กปลูกต้นไม้ แนะนำอุปกรณ์และสาธิตขั้นตอนการปลูก เด็กรู้วิธีและขั้นตอนการการปลูกต้นไม้ และกระตือรือร้นที่จะปลูกต้นไม้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
3 แบ่งกลุ่มเด็ก จัดอุปกรณ์ให้แต่ละกลุ่ม พาไปแปลงปลูกและบริเวณที่แต่ละกลุ่มจะปลูกและลงมือปลูก เด็กทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ และรู้ว่าจะปลูกที่ตรงไหน
สร้างเสริม EF ด้าน: วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
4 เก็บอุปกรณ์ และรวมกลุ่มเด็กสรุป ความรู้ และความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อปลูกต้นไม้เสร็จ พูดคุยกับเด็กถึงโอกาสที่ต้นไม้จะโตต่อหรืออาจตายได้ แม้ว่าเด็กจะพยายามดูแลต้นไม้อย่างดี เด็กเรียนรู้ว่าการปลูกต้นไม้เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนควรทำ และเด็กก็สามารถทำได้ เมื่อทำแล้วบอกความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้
สร้างเสริม EF ด้าน: ติดตาม ประเมินตนเอง
5 จัดเวลาให้เด็กได้มาดูแลต้นไม้ที่ปลูกทุกวัน เด็กดูแลต้นไม้อย่างต่อเนื่อง สังเกตลักษณะและการเติบโตของต้นไม้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

ต้นไม้และอุปกรณ์สำหรับสาธิตการปลูกต้นไม้ (พลั่วเล็ก พวยรดน้ำ ดินผสม ผ้าเช็ดมือ), นิทานเรื่อง “ต้นไม้แสนรัก”

สำหรับเด็ก:

ต้นไม้และอุปกรณ์สำหรับเด็กใช้ปลูกต้นไม้ (พลั่วเล็ก พวยรดน้ำ ดินผสม ผ้าเช็ดมือ), แปลงปลูกต้นไม้ของแต่ละกลุ่ม, นิทาน หนังสือ ภาพ เกี่ยวกับต้นไม้และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

พื้นที่นั่งเรียนรู้ใต้ต้นไม้, บริเวณล้างและเช็ดมือนอกห้องเรียน

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

พื้นที่ร่มเงาใต้ต้นไม้, เด็กทุกคนได้รับโอกาสให้เป็นเจ้าของต้นไม้, เด็กทุกคนได้รับโอกาสให้เป็นเจ้าของต้นไม้, เด็กได้รับคำชื่นชมถึงความพยายามดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

หนังสือในมุมหนังสือ ที่เกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ภาพขั้นตอนการปลูกต้นไม้ติดผนัง, วัสดุธรรมชาตินำมาเป็นสื่อให้เด็กเล่น