EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ครูผู้ช่วยตัวน้อย

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 3     เวลา: 30 นาที นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: ปทิตตา แสนสุภา | เมื่อ: 18-03-2022 11:36

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

มีความเป็นผู้ช่วยครู ในการช่วยเหลือเพื่อนที่ต้องได้รับการส่งเสริม

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เด็กเรียนรู้ทักษะสมอง EF ด้านการวางแผนจัดระบบดำเนินการ ผ่านกิจกรรม ครูผู้ช่วยตัวน้อย

ผ่านกิจกรรม:

ครูผู้ช่วยตัวน้อย

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน:

ทักษะกำกับตนเอง:

ทักษะปฏิบัติ: วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

อารมณ์-จิตใจ

มีจิตใจโอบอ้อมอารี ใจเย็น , มีความภูมิใจในตนเอง

สังคม

มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น , มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

สติปัญญา

คิดแก้ปัญหา , นำความรู้ที่ตนเองมีอยู่ไปต่อยอดให้กับเพื่อนได้ , สนใจในการเขียนหนังสือ ตัวเลข

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เป็นผู้ช่วยครู และ สามารถสอนเพื่อนได้ในระดับที่เด็กเข้าใจ เช่น การเขียนหนังสือตามบรรทัด 5 เส้น , การบวก-ลบ เลข ,ให้การช่วยเหลือเพื่อนที่ต้องได้รับการส่งเสริม รวมทั้งให้เด็กเกิดความภูมิใจในตนเอง


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กมีความรู้ ความสามารถในการเขียนหนังสือ การอ่านหนังสือด้วยคำง่ายๆ เช่น แตงโม ยาชา เป็นต้น และสามารถบวก-ลบเลขได้ดี

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กมีความภูมิใจในตนเองกับการเป็นได้คุณครู ตั้งแต่วัยเยาว์

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 เลือกตัวแทนนักเรียนที่มีความกล้าแสดงออก มีพัฒนาการต่างๆ เด่นชัด เพื่อให้เด็กได้แสดงความเป็นตัวเองที่เด่นชัดในด้านวิชาการ และเด่นด้านพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 ให้ครูผู้ช่วยตัวน้อย เลือกเพื่อนคนที่ควรส่งเสริม (คนที่ทำงานหรือเรียนไม่ทัน) 1 คน แล้วให้ทำการช่วยครูส่งเสริมพัฒนาการของเพื่อนคนนััน โดยมีครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ให้เด็กรู้จักกล้าคิดกล้าตัดสินใจด้วยตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 ครูให้ครูผู้ช่วยตัวน้อย ได้มาเล่าให้ครูฟังว่าพาเพื่อนทำอะไรบ้าง และ เพื่อนทำได้ไม๊ ตัวครูผู้ช่วยตัวน้อยเองชอบในกิจกรรมนี้หรือเปล่า จากนั้นครูตรวจความถูกต้องของงานที่เด็กได้พาเพื่อนทำ เด็กมีความกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น และสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองทำให้ผู้อื่นรับรู้ได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
4 ครูประเมินครูผู้ช่วยตัวน้อยผ่านสิ่งที่เด็กได้ลงมือ และดูจากผลงานของเพื่อนที่ครูผู้ช่วยตัวน้อยได้ทำการเสริมให้ รวมทั้งสอบถามเพื่อนที่ได้รับการสอนเสริมการครูผู้ช่วยตัวน้อยว่าเข้าใจหรือไม่ เข้าใจในระดับใด ทำให้ครูรู้จักพัฒนาการเด็กทั้งครูผู้ช่วยตัวน้อย และ เพื่อนที่ได้รับการส่งเสริม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
5
สร้างเสริม EF ด้าน:

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

ตัวครู ตัวเด็ก ใบงาน

สำหรับเด็ก:

ตัวครู ตัวเด็ก ใบงาน

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

ความมีระเบียบ และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มือและตาสัมพันธ์กัน

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

เด็กมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และรู้จักการใช้วิธีที่หลากหลายในการหาคำตอบที่ดีที่สุด

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

เด็กมีอารมณ์ที่มั่นคง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจเย็น