EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: หนูทำได้

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล1-3     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: มีนา ปาละโค | เมื่อ: 18-03-2022 11:38

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เพื่อให้เด็กรู้จักตนเองและศักยภาพของตนเอง

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เพื่อให้เด็กเกิดความพยายามและใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา และหาวิธีผ่านอุปสรรคต่างๆให้ได้

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

เพื่อใหเด็กบอกความรู้สึกตนเองจากกิจกรรมที่ทำและแนวทางในการปรับปรุงตนเอง

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

สามารถข้ามสิ่งกีดขวางต่างๆได้

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

สามารกแก้ปัญหาและหาวิธีผ่านอุปสรคต่างๆได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

การเคลื่อนไหวผ่านจุดต่างๆที่ครูกำหนด

ผ่านกิจกรรม:

จุดที่ 1 กระโดดข้ามเชือกสูง 1 ฟุต จุดที่ 2 เดินทรงตัวบนแผ่นไม้กระดาน จุดที่ 3 กระโดดข้ามวงล้อเท้าคู่และแยกเท้า จุดที่ 4 วิ่งอ้อมสิ่งกีดขวางสลับไปมา จุดที่ 5 โยนบอลลงตะกร้า คนละ 5 ลูก

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ การกระโดด การเดินทรงตัว การวิ่งอ้อมสิ่งกีดขวาง การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา การโยนบอลลงตะกร้า

อารมณ์-จิตใจ

เด็กสนใจและมีความสุขในการทำกิจกรรม

สังคม

รู้จักรอคอยตามลำดับก่อนหลัง ปฎิบัติตามข้อตกลงและรับคำชี้แนะได้

สติปัญญา

รู้จักคิดแก้ปัญหาเมื่อทำกิจกรรมใดไม่ได้ มีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรม เล่าแสดงความคิดเห็นในกิจกรรมที่ทำได้

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เพื่อให้เกิดทักษะ การแก้ปัญหา ใช้สติปัญญาแก้ปัญหา วางแผนเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อแก้ปัญหา


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

การสนทนาตอบคำถามและการเล่าเรื่อง

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

สถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ สถานการณ์ที่ต้องมีการวางแผน สถานการณ์ที่ต้องมีการแก้ไขปัญหา สถานการณ์สรรหาวิธีการใหม่ สถานการณ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ขั้นตอน/วิธีการ ขั้นนำ 1. ครูกำหนดกฎกติการ่วมกันกับเด็กก่อนออกนอกห้องเรียนไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง 2. เมื่อออกไปสนาม ครูให้เด็กๆจัดแถวและครูร้องเพลง กายบริหาร พร้อมทั้งให้เด็กๆทำท่างทางประกอบเพลง เพลงกำมือขึ้น กำมือขึ้นแล้วหมุนๆ ชูมือขึ้นโบกไปมา กำมือขึ้นแล้วหมุนๆ ชูมือขึ้นโบกไปมา กางแขนขึ้นและลง พับแขนมือแตะไหล่ กางแขนขึ้นและลง ชูมือตรงหมุนไปรอบตัว 3. ให้เด็กๆสลับกันออกไปเป็นผู้นำทำท่าทางกายบริหารส่วนต่างๆของร่างกายโดยให้เพื่อนๆทำตาม ขั้นสอน 1. ครูกำหนดสิ่งกีดขวางไว้ 5 จุดและสาธิตให้เด็กดู ให้เด็กแต่ละคนข้ามสิ่งกีดขวาง 5 จุดให้สำเร็จ ดังนี้ จุดที่ 1 กระโดดข้ามเชือกสูง 1 ฟุต จุดที่ 2 เดินทรงตัวบนแผ่นไม้กระดาน จุดที่ 3 กระโดดข้ามวงล้อเท้าคู่และแยกเท้า จุดที่ 4 วิ่งอ้อมสิ่งกีดขวางสลับไปมา จุดที่ 5 โยนบอลลงตะกร้า คนละ 5 ลูก 2. ครูสังเกตพฤติกรรมของเด็กและจดบันทึกเพื่อหาแนวทางส่งเสริมและพัฒนาต่อไป ขั้นสรุป 1.ครูสนทนากับเด็กๆโดยให้เด็กประเมินตนเองว่าผ่านหรือไม่ผ่านจุดใดบ้าง เพราะอะไรและจะจัดการกับปัญหานั้นอย่างไรโดยให้เด็กๆตอบทีละคน เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเอง 2.ให้เด็กๆช่วยกันเก็บอุปกรณ์และล้างมือก่อนเข้าห้องและทำกิจกรรมต่อไป 1.เพื่อให้เด็กรู้จักตนเองและศักยภาพของตนเอง 2.เพื่อให้เด็กเกิดความพยายามและใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา และหาวิธีผ่านอุปสรรคต่างๆให้ได้ 3.เพื่อใหเด็กบอกความรู้สึกตนเองจากกิจกรรมที่ทำและแนวทางในการปรับปรุงตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.เก้าอี้เด็กๆอนุบาล 11 ตัว 2.เชื่อก 3.แผ่นไม้กระดาน 4.ล้อรถจักรยานยนต์ จำนวน 10 ล้อ 5.ลูกบอลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว 6.ตะกร้า

สำหรับเด็ก:

1.เก้าอี้เด็กๆอนุบาล 11 ตัว 2.เชื่อก 3.แผ่นไม้กระดาน 4.ล้อรถจักรยานยนต์ จำนวน 10 ล้อ 5.ลูกบอลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว 6.ตะกร้า

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ให้พร้อมบริเวรสนาม เพื่อให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การจัดอุปกรณ์ให้เด็กเดินทรงตัว เพื่อให้เด็กได้พัฒนาการบูรณาการประสาทความรู้สึก (SI) ด้านระบบการทรงตัว การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ผ่านการโยนบอล

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

จัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เด็กคิด แก้ปัญหา เชิญชวนให้เด็กอยากค้นคว้า สำรวจ ทดลอง เพื่อตอบสนองความสนใจ หรือหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย การจัดสถานที่ตามจุดการเคลื่อนไหวต่างๆ

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย มีความมั่นคงทางอารมณ์ พฤติกรรมใดของเด็กที่อาจเกิดขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจกรรม และหาวิธีการป้องกัน หรือเตรียมตัวรับมือหากเกิดขึ้น เช่น การใช้วินัยเชิงบวกในการสื่อสารและปรับพฤติกรรม การสนทนาตอบคำถาม