EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: บทบาทสมมติ : หัวผักกาดยักษ์

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อ.3     เวลา: 45 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: พนมวรรณ คาดพันโน | เมื่อ: 18-03-2022 11:59

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

ความสามัคคี การช่วยเหลือ การทำงานเป็นทีม

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

การแบ่งบทบาทหน้าที่ ลำดับก่อนหลัง

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การรอคอย ลำดับก่อนหลัง

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

แสดงบทบาทสมมติได้

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

ช่วยกันหลายคนทำให้งานที่ยาก สำเร็จได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

ความช่วยเหลือ/ความสามมัคคี การรอคอย การแสดงบทบาทสมมติ การแบ่งหน้าที่ ลำดับก่อนหลัง งานสำเร็จได้ด้วยความสามัคคี

ผ่านกิจกรรม:

บทบาทสมมติ เรื่อง หัวผักกาดยักษ์

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การเคลื่อนไหวโดยการดึงกันเป็นจังหวะ

อารมณ์-จิตใจ

ความรัก ความสามัคคี การช่วยเหลือ มีน้ำใจ

สังคม

การทำงานเป็นทีม

สติปัญญา

จำได้ว่าตนเองแสดงบทบาทอะไร ต้องแสดงลำดับที่เท่าไหร่ ต่อจากใคร และจะโยกตัวเอง ดึงเพื่อนตอนไหน

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

แสดงบทบาทสมมติได้อย่างถูกต้อง รู้จักช่วยเหลือ สามัคคี


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กเคยฟังครูอ่านหนังสือเรื่อง หัวผักกาดยักษ์

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

การแสดงบทบาทสมมติ ต่อยอดจากความจำที่เคยฟังเรื่อง หัวผักกาดยักษ์

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 นำเข้าสู่บทเรียน ทักทายเด็ก ๆ แจ้งว่าวันนี้จะฟังนิทานและเล่นบทบาทสมมติ และอ่านหนังสือภาพ "หัวผักกาดยักษ์" ให้เด็กฟัง ให้เด็กสามารถจดจำเรื่องราวของ หัวผักกาดยักษ์ ได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
2 ถามเด็ก ๆ ว่า มีตัวละครอะไรบ้าง ใครอยากเป็นตัวละครไหน ให้เด็กตกลงกันเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ว่าใครจะเป็นละครตัวไหน ใครจะเป็นคนบรรยาย ใครจะแสดง ตกลงกันว่าตอนดึงจะทำท่าทางอย่างไร แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม และให้เวลาวางแผน ซักซ้อมความเข้าใจ เพื่อทบทวนเนื้อเรื่อง ตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง ท่าทางต่าง ๆ ที่จะแสดง และแบ่งบทบาทหน้าที่กันให้ชัดเจน ซักซ้อม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 ให้เด็ก ๆ แสดงบทบาทสมมติทีละกลุ่ม เพื่อให้เด็กได้ทดลองแสดงบทบาทสมมติตามที่ได้วางแผนไว้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
4 สรุปผล ถามเด็ก ๆ ว่า เป็นอย่างไรบ้าง สามารถแสดงได้ตามที่ได้วางแผนไหม มีความพอใจหรือไม่ ให้คะแนนตนเอง และคะแนนของทีมเท่าไหร่ (ต้องปรับปรุง พอใจปานกลาง ดี ดีมาก) เพื่อให้ทบทวน ประเมินตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

หนังสือ หัวผักกาดยักษ์

สำหรับเด็ก:

ป้ายชื่อตามบทบาทสมมติ

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

สถานที่ปลอดภัย สะอาด เด็ก ๆ สามารถนั่ง หรือนอนฟังนิทาน และเล่นบทบาทสมมติได้

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ใส่ใจซักถาม ให้โอกาสเด็กได้พูดโต้ตอบ

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

การยอมรับความคิดเห็นของเด็ก ๆ