EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: การร้อยลูกปัดขนาดเล็ก

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล3     เวลา: 20 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสาวกุลวดี ใจคำ | เมื่อ: 18-03-2022 12:00

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

วิธีร้อยลูกปัด

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การนับเลขและการใช้มือ สายตาประสานกันเพื่อร้อยลูกปัดขนาดเล็ก ผูกเชือกเป็น

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

การใช้มือตาประสานสัมพันธ์กัน ร้อยลูกปัดให้ได้จำนวน 20 ลูกและผูกเชือกได้

ผ่านกิจกรรม:

การร้อยลูกปัดขนาดเล็กที่มีสีและรูปร่างต่างกัน

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้ลงมือทำ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการประสานสัมพันธ์มือ ตา

สติปัญญา

ฝึกความคิดสร้างสรรค์

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กร้อยลูกปัดขนาดเล็กได้ครบ 20 ลูก สามารถผูกเชือกได้


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กเคยเห็น รู้จักอุปกรณ์และเคยร้อยลูกปัดที่มีขนาดใหญ่มาก่อน

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กสามารถร้อยลูกปัดขนาดเล็กได้ นับเลขได้ถึง 20 ผูกเชือกได้

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูทบทวนเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของเด็กและแนะนำกิจกรรม หยิบอุปกรณ์ให้ดูทีละชิ้น ทบทวนเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของเด็ก แนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
2 ครูสาธิตการร้อยลูกปัดโดยจับปลายเชือกด้วยมือซ้ายและหยิบลูกปัดด้วยมือขวา แล้วร้อยลูกปัดทีละลูก โดยนับให้เด็กฟังไปด้วยตั้งแต่ 1-20 เมื่อครบแล้วจึงผูกปลายเชือกให้ดู สาธิตการร้อยลูกปัด นับเลขและมัดเชือก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
3 ครูให้เด็กแบ่งกลุ่ม เป็นกลุ่มละ 4 คน โดยให้เลือกตัวแทนกลุ่มมารับงานและลงมือปฏิบัติ โดยให้แต่ละคนนับเอาลูกปัดของตัวเองคนละ 20 ลูก ก่อนลงมือร้อยลูกปัดและผูกเชือก ให้เด็กแบ่งกลุ่ม ลงมือร้อยลูกปัดและผูกเชือก
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย
4 เมื่อทำงานเสร็จ ครูให้เด็กๆนำเสนอผลงานของตนเองในกลุ่ม และให้เลือกชิ้นงานที่ดีที่สุด ให้เด็กแต่ละคนพูดถึงกิจกรรมว่าชอบหรือไม่ชอบตรงไหน อย่างไร ทำได้ไหม นับเลขได้ไหม จากนั้นจึงเก็บอุปกรณ์ ให้เด็กๆนำเสนอผลงานของตนเอง สะท้อนความคิด แสดงความคิดเห็น
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

ลูกปัด ถาด ถ้วย เชือกเอ็น

สำหรับเด็ก:

ลูกปัด ถาด ถ้วย เชือกเอ็น

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมกลุ่มได้อย่างสะดวก ปลอดภัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

ใช้ลูกปัดที่มีรูปร่างต่างกันและมีหลายสี

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ครูคอยให้กำลังใจเด็กที่ทำไม่ได้โดยให้ลองทำใหม่ คอยให้คำแนะนำอยู่ใกล้ๆ ชมเชยเด็กที่ทำได้