EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: การทำความเคารพผู้ใหญ่

ระดับชั้น/ช่วงวัย: ระดับอนุบาลปีที่ 1     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: รัชนี ศิริชัยเอกวัฒน์ | เมื่อ: 18-03-2022 12:32

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

เกิดเจตคติที่ดีในการแสดงความเคารพผู้ใหญ่

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

วิธีการแสดงความเคารพผู้ใหญ่ ด้วยการไหว้ มีวิธีการอย่างไร

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

สามารถทำความเคารพผู้ใหญ่ได้ถูกต้อง

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

วิธีการแสดงความเคารพผู้ใหญ่ (การไหว้)

ผ่านกิจกรรม:

การสาธิตการไหว้ที่ถูกวิธี

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

สามารถใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการยืน ย่อ กล้ามเนื้อเล็กในการไหว้ เคลื่อนมือไปในทิศทางที่กำหนด

อารมณ์-จิตใจ

ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และความเชื่อมั่นในตนเองขณะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

สังคม

นำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

สติปัญญา

รู้วิธีการแสดงความเคารพผู้ใหญ่(การไหว้)ที่ถูกต้อง

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

สามารถไหวู้ผ้ใหญ่ได้ถูกต้องและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ให้นักเรียนบอกวิธีการแสดงความเคารพผู้ใหญ่ที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

นักเรียนสามารถแสดงวิธีการไหว้ที่ถูกต้อง

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 1. สอบถามนักเรียนว่าเคยทำความเคารพผู้ใหญ่หรือไม่ ถ้าเคย ทำอย่างไร (พูดหรือแสดงท่าทาง) ทบทวนความรู้เดิมที่มีเกี่ยวกับการแสดงความเคารพ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ
2 ครูนำภาพเกี่ยวกับมารยาทในการทำความเคารพผู้ใหญ่มาให้เด็กดู แล้วสนทนาซักถามเกี่ยวกับการปฏิบัติ ให้นักเรียนเห็นรูปแบบ วิธีการแสดงความเคารพผู้ใหญ่แบบต่างๆ ในแต่ละสถานการณ์
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ มุ่งเป้าหมาย
3 ครูสาธิตการแสดงความเคารพผู้ใหญ่ด้วยการไหว้ เด็กผู้ชาย 1. ยืนตรง พนมมือไว้กลางอก 2. ก้มตัวลง พร้อมเลื่อนมือขึ้นไปให้นิ้วโป้งแตะที่จมูก และนิ้วชี้แตะที่ระหว่างคิ้ว 3. ค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาที แล้วเอามือลงพร้อมยืดตัวขึ้นตรง เด็กผู้หญิง 1. ยืนตรง พนมมือไว้กลางอก 2. ถอยเท้าขวาไปด้านหลังเล็กน้อยพร้อมย่อตัวลง เลื่อนมือขึ้นไปให้นิ้วโป้งแตะที่จมูก และนิ้วชี้แตะที่ระหว่างคิ้ว 3. ค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาที แล้วเอามือลงพร้อมยืดตัวขึ้นและชักเท้ากลับมาที่เดิม จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม(ชาย/หญิง) ลงมือปฏิบัติ คุณครูดูแลให้คำแนะนำ นักเรียนเรียนรู้วิธีการไหว้ที่ถูกต้องทั้งชายและหญิง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย
4 ครูสอบถามความรู้สึกนักเรียน "นักเรียนคิดว่าตนเองสามารถไหว้อย่างถูกวิธีได้หรือไม่ ทำได้อย่างไร และจะนำไปใช้ที่ไหน" นักเรียนภูมิใจในความสามารถของตนเอง และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง มุ่งเป้าหมาย
5 ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง "สวัสดี" พร้อมแสดงการไหว้ประกอบเพลง เพลิดเพลิน และสามารถไหว้ได้ถูกต้อง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

ภาพการแสดงความเคารพผู้ใหญ่ในแบบต่างๆ และหลากหลายสถาการณ์ (ผู้ใหญ่นั่งพื้น ผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้ ผู้ใหญ่ยืน) เพลง "สวัสดี

สำหรับเด็ก:

เพลง "สวัสดี"

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

จัดพื้นที่ให้กว้างพอ อาจแบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม ชาย / หญิง ครูสาธิตที่ละแบบ และให้นักเรียนกลุ่มนั้นๆ ลองปฏิบัติตาม (ขณะนักเรียนชายปฏิบัติ ให้นักเรียนหญิงคอยสังเกตวิธีการไหว้ เช่นเดียวกัน เมื่อนักเรียนหญิงปฏิบัติให้นักเรียนชายสังเกตการไหว้)

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

กระตุ้นให้นักเรียนที่นั่งรอ ลองเลื่อนมือจากที่พนมไว้กลางอกเลื่อนขึ้นไปให้นิ้วโป้งแตะจมูก นิ้วชี้แตะระหว่างคิ้ว

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ครูอาจเพิ่มบรรยากาศโดยเปิดเพลงบรรเลงคลอเบาๆ