EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล2     เวลา: 20 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: สาวิตรี โคตรสุโพธิ์ | เมื่อ: 20-03-2022 18:08

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

การนับจํานวนและเปรียบเทียบได้ เพื่อให้เด็กสามารถนับจํานวน 1- 5ได้และใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กันได้ มีความมุ่งมั่นตั้งใจทําผลงานให้สําเร็จ กล้าพูดกล้าแสดงออก และร่วมสนทนากับครูและเพื่อนได้อย่างเหมาะสม

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เด็กได้เรียนรู้เรื่องจดจ่อใส่ใจ กำกับตนเอง ผ่านการออกแบบรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมได้ ด้านการมุ่งเป้าหมาย ทำงานจนสำเร็จได้ด้วยตนเอง

ผ่านกิจกรรม:

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน:

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับสิ่งต่างๆ

อารมณ์-จิตใจ

จอจ่อใส่ใจ

สังคม

ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

สติปัญญา

คิดสร้างสรรค์ การคิด

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กได้ต่อเติมรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมตามจิตนาการต่อเติมรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม เด็กเด็กรู้จักวางแผนและแก้ปัญหาในการสร้างบ้านร่วมกับเพื่อนๆ จนผลงานสำเร็จ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กดูรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ครูชวนเด็กๆสังเกตโดยใช้คําถามกระตุ้นความคิด เช่น - เด็ก ๆ เห็นรูปอะไรซํ้า ๆ กันบ้าง - เด็ก ๆ คิดว่ารูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมที่มีจํานวนมากกว่า มาลองนับกัน

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

ครูต่อยอดการเรียนรู้ของเด็กให้เด็กสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กที่มีรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ขั้นนํานำเข้าสู่บทเรียน เด็กและครูร่วมกันร้องเพลงเคลื่อนไหวนับเลข ครูชวนเด็ก ๆ นับเลข พร้อมชูนิ้วประกอบการนับไปด้วย 1. นับจํานวน 1- 5ได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
2 ขั้นการดำเนินกิจกรรม 1. เด็กดูรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ครูชวนเด็ก ๆสังเกตโดยใช้คําถามกระตุ้นความคิด เช่น - เด็ก ๆ เห็นรูปอะไรซํ้า ๆ กันบ้าง - เด็ก ๆ คิดว่ารูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมที่มีจํานวนมากกว่า มาลองนับกัน 2. เด็กนับรูปสามเหลี่ยมตามครูโดยใช้นิ้วชี้ไปที่รูปสามเหลี่ยมทีละรูปประกอบการนับ 1 –5 จากนั้นระบายสีแสดงจํานวน 3. เด็กนับรูปรูปสี่เหลี่ยมตามครู โดยใช้นิ้วชี้ไปที่รูปสี่เหลี่ยมทีละรูปประกอบการนับ 1 –2 -5จากนั้นระบายสีแสดงจํานวน 4. หลังจากให้เด็กได้ต่อเติมตามความคิดสร้างสรรค์ 5. ให้เด็กอาสาเล่าความรู้สึกในการทํากิจกรรมหรืออธิบายผลงานของตนเอง 1.ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กันได้ 2. มีความมุ่งมั่นตั้งใจทําผลงานให้สําเร็จ 3. ริเริ่มความคิดสรรค์ 4. กล้าพูดกล้าแสดงออก และร่วมสนทนากับครูและเพื่อนได้อย่างเหมาะสม
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 ขั้นสรุป เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงกิจกรรมที่ได้ทําไป ทบทวนการนับจํานวน และร่วมกันร้องเพลงเคลื่อนไหวนับเลข เพื่อให้เด็กได้สามารถนับจํานวน 1- 5ได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จดจ่อใส่ใจ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
4 ประเมินผล 1. สังเกตการนับ 2. ตรวจผลงานการระบายสีกิจกรรมนับจํานวน 3. สังเกตการร่วมสนทนากับครูและเพื่อน 1. เพื่อสังเกตพฤติกรรมการนับ 2. เพื่อประเมินผลงานการต่อเติมตามจินตนการสีกิจกรรมนับจํานวนและการต่อเติมภาพ 3. สังเกตการร่วมสนทนากับครูและเพื่อน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

เพลงนับเลข รูปภาพสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

สำหรับเด็ก:

ใบงานกิจกรรมต่อเติมภาพรูปภาพสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

การจัดสื่อ อุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

การจัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เด็กคิด แก้ปัญหา

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย มีความมั่นคงทางอารมณ์