EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: เสริมประสบการณ์

ระดับชั้น/ช่วงวัย: 2-3     เวลา: 20 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางสาวเบญจวรรณ ยวนยี | เมื่อ: 25-03-2022 14:47 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 25-03-2022 16:25

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

รู้จักปฏิเสธสิ่งไม่ดี

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เด็กรู้จักเลือกกินอาหารดี

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดี บุหรี่

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

เด็กสามารถนำไปพูดให้พ่อหรือคนในครอบครัวฟังเกี่ยวกับโทษของบุหรี่

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

รู้จักปฏิเสธสิ่งไม่ดี

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

ให้เด็กเรียนรู้ทักษะการปฏิเสธ

ผ่านกิจกรรม:

อ่านหนังสือนิทานเรื่องปากไม่ว่างให้เด็กฟัง

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้แก้ปัญหา

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

พัฒนาการกล้ามมัดเล็กและความสัมพันธ์มือกับตา

อารมณ์-จิตใจ

เกิดความเพลิดเพลิน

สังคม

อยู่ร่วมกันกับครูและเพื่อน

สติปัญญา

เกิดความคิดการไตร่ตรองเกี่ยวกับการปฏิเสธ

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

ให้เด็กรู้จักโทษของบุหรี่รู้จักการปฏิเสธ ระบายสีภาพจนเสร็จ


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ควันสูบบุหรี่เหม็น

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เมื่อเด็กๆพบเห็นผู้ปกครองหรือบุคคลใกล้ชิดสูบบุหรี่ให้เด็กบอกว่าสูบบุหรี่ไม่ดี หรือรู้จักการหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้คนสูบบุหรี่

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูเตรียมความพร้อมเด็กโดยพาเด็กร้องเพลงดอกไม้บาน ครูและเด็กร่วมกันสนทนาตอบคำถาม - การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ - การหลีกเลี่ยงควันบุหรี่
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ
2 ครูอ่านหนังสือนิทานปากไม่ว่างให้เด็กฟัง เด็กเกิดความรู้เรื่องการปฏิเสธ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ
3 ครูและเด็กร่วมกันสนทนาโต้ตอบนิทานเรื่องปากไม่ว่าง เด็กรู้จักการปฏิเสธและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โทษของบุหรี่
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ
4 ครูให้เด็กระบายสี อาหารดีมีประโยชน์ เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมือและตาประสานสัมพันธ์กัน
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย
5 เด็กนำเสนอผลงานของตนเอง ครูชื่นชมผลงานของเด็ก ร่วมสุปผลงานด้วยกัน เด็กมีความกล้าแสดงออก รู้จักปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดีได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

เพลงดอกไม้บาน หนังสือนิทานปากไม่ว่าง ใบงานระบายสีภาพอาหารดีมีประโยชน์ สีเทียน

สำหรับเด็ก:

เพลงดอกไม้บาน หนังสือนิทานปากไม่ว่าง ภาพระบายสี สีเทียน

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

การจัดเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสมต่อจำนวนเด็ก การสร้างบรรยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็นและกล้าแสดงออก

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

ให้ความอบอุ่นแก่เด็ก ครูยิ้มแย้มแจ่มใส