EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: ลูกข่างหลากสี

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาล 2 อายุ 4-5ขวบ     เวลา: 60 นาที นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางวิไล โต๊ะมุสอ | เมื่อ: 14-03-2022 21:44

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

รู้จักการช่วยเหลือและแบ่งปันต่อตนเองและผู้อื่น ต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติรู้จักใช้วัสดุที่เหลือใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ ต่อการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้รู้จักวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

เด็กได้สังเกตเห็นสีต่างๆบนลูกข่าง เด็กได้สังเกตความแตกต่างสีของลูกข่างจากการเคลื่อนที่เร็วและช้า

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

ทักษะการสังเกต,ทักษะการการคำนวณ,ทักษะการทดลอง,ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองเรื่องลูกข่างหลากสีได้ เด็กสามารถทำลูกข่างด้วยตนเองได้

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

เมื่อหมุนลูกข่างสีให้เคลื่อนที่เร็ว ตาของเราจะไม่สามารถแยกแยะสีของลูกข่างได้และมองเห็นลูกข่างเป็นสีเดียวกัน เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การเกิดภาพลวงตา

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

ให้เด็กรู้จักสังเกตการทดลองเรื่องลูกข่างหลากสี การเปลี่ยนแปลงของลูกข่างที่หมุนเร็ว ทำให้ตาของเราไม่สามารถแยกสีของลูกข่างได้และมองเห็นลูกข่างเป็นสีเดียวกัน

ผ่านกิจกรรม:

กิจกรรมลูกข่างหลากสี

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

เด็กรู้จักใช้กล้ามเนื้อมือและตาในการวาดรูปวงกลมและระบายสี เด็กรู้จักใช้มือและตาในการใช้กรรไกรตัดกระดาษ เด็กรู้จักใช้มือในการหมุนลูกข่าง

อารมณ์-จิตใจ

เด็กรู้สึกชื่นชมผลงานและมีความสุข สนุกสนานในการทำกิจกรรมการทดลอง

สังคม

เด็กรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

สติปัญญา

เด็กรู้จักใช้ภาษาในการสื่อสาร เด็กมีความคิดพื้นฐานในการเรียนรู้และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

1.เด็กกล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงออก 2.เด็กมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ 3.เด็กได้รับการพัฒนาความรู้ทีหลากหลาย 4.เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5.เด็กได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง 6.เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ 7.เด็กมีเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ครูนำลูกข่างมาให้เด็กๆดูและถามว่าคืออะไร เด็กๆรู้จักไหมค่ะ มีรูปร่างลักษณะอย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง ครูถามเด็กไปว่า เด็กๆอยากเล่นหรือเปล่า เด็กๆ ตอบว่า อยากเล่นค่ะ ครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองให้เด็กๆรู้จัก ได้แก่ แผ่นซีดีที่ใช้แล้ว ลูกแก้ว กระดาษสีขาว ครูถามเด็กว่า เราจะนำวัสดุทั้ง 3 อย่างนี้มาทำลูกข่างให้หมุนได้อย่างไร เด็กบางคนตอบว่า นำลูกแก้วไปใส่ในรูตรงกลางของแผ่นซีดีครับ แล้วก็นำมาหมุนครับ

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

ครูแจกกระดาษ สีเมจิกหรือสีเทียนให้เด็กๆวาดรูปวงกลมโดยใช้แผ่นซีดีทาบ ลงบนกระดาษแล้งใช้กรรไกรตัดรูปวงกลมที่วาดและให้เด็กๆระบายสีลงในรูปวงกลม จากนั้นใช้เทปใสหรือกาวติดที่แผ่นซีดีกับกระดาษวงกลมที่ตัดไว้แล้ว ให้เด็กๆนำลูกแก้วใส่ลงในรูตรงกลางกระดาษสี แต่ยังหมุนไม่ได้ เด็กๆจะทำอย่างไร เด็กนำดินน้ำมันมายึดติดกับลูกแก้ว ภาพที่ระบายสีมีสีแดงและสีเขียว ถ้าเราหมุนลูกข่างแล้วจะมีสีเป็นอย่างไร

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน -ครูนำลูกข่างมาให้เด็กดูและถามเด็กว่าคืออะไร มีรูปร่างอย่างไร ใช้ทำอะไร -ครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง 1.เด็กรู้จักวัสดุอุปกรณ์ที่ครูนำมาให้ดูว่ามีอะไรบ้าง 2.เด็กรู้จักรูปร่างลักษณะของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 2.ขั้นดำเนินการ ครูแจกวัสดุอุปกรณ์ ให้เด็กวาดรูปวงกลมโดยใช้แผ่นซีดีทาบลงบนกระดาษ แล้วใช้กรรไกรตัดตามรูปวงกลม เด็กๆระบายสีลงในรูปวงกลม นำแผ่นซีดีทากาวหรือใช้เทปใสมาติดกับกระดาษวงกลมที่ตัดไว้แล้ว ให้เด็กนำลูกแก้วใส่ในรูตรงกลางแผ่นซีดีแต่มันยังหมุนไม่ได้ เด็กๆจะทำอย่างไร ให้เด็กนำดินน้ำมันมายึดติดกับลูกแก้ว ภาพที่ระบายสีแดงกับสีเขียว ถ้าเราหมุนแล้วจะมีสีเป็นอย่างไร 1.เด็กๆได้ปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง 2.เด็กๆได้รูจักวางแผนการทดลองตามลำดับขั้นตอน 3.เด็กรู้จักและระมัดระวังในการใช้อุปกรณ์ต่างๆเช่น กรรไกร เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ 4.เด็กๆได้สังเกตผลการทดลองว่าเป็นอย่าง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 สรุปผลการทดลอง 1.เด็กสังเกตผลการทดลองว่าเป็นอย่างไร เมื่อทดลองหมุนลูกข่าง ลายและสีบนลูกข่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เด็กแต่ละคนจะสังเกตเห็นความแตกต่างเหมือนกันหรือไม่ และให้เด็กๆหมุนลูกข่างแผ่นซีดีด้วยความเร็วที่ต่างกัน เมื่อลูกข่างแผ่นซีดีหมุนเร็วๆตาของเราไม่สามารถแยกแยะสีสันบนลูกข่างได้ แต่จะเห็นแถบสีบนลูกข่างที่มีลายสีขาวดำหรือสีที่ผสมกันได้ เด็กบางคนสังเกตเห็นสีบนลูกข่างมีสีเดียวกัน บางคนเห็นเป็นสีต่างกันตามที่ระบายสีลูกข่างของแต่ละคนไม่เหมือนกัน 1.เด็กๆสามารถสังเกตและสรุปผลการทดลองได้ 2.เด็กๆได้ชื่นชมผลงานหรือชิ้นงานของตนเอง 3.เด็กๆนำเสนอผลงานของตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1.แผ่นซีดี 2.กระดาษสีขาว 3.ลูกแก้ว 4.ดินน้ำมัน 5.ปากกา 6.สีเทียนหรือสีเมจิก 7.กรรไกร

สำหรับเด็ก:

1.แผ่นซีดี 2.กระดาษสีขาว 3.ลูกแก้ว 4.ดินน้ำมัน 5.ปากกา 6.สีเทียนหรือสีเมจิก 7.กรรไกร

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

1.แนะนำเด็กๆในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น สี กาว เทปใส ดินน้ำมัน ลูกแก้ว โดยเฉพาะกรรไกร ควรใช้อย่างระมัดระวังเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ครูควรดูแลอย่างใกล้ชิด

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

1.ใช้คำถามกระตุ้นเด็กว่า เด็กอยากทำมั้ย เด็กๆคิดว่าจะทำอย่างไร ทำอย่างไรให้ลูกข่างหมุน 2.ถ้าไม่มีแผ่นซีดีเราสามารถใช้อะไรทำได้บ้าง

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

1 สร้างข้อตกลงร่วมกันในการทำกิจกรรมการทดลอง 2.ให้เด็กรู้จักการรอคอย 3.ให้เด็กๆรู้จักช่วยเหลือแบ่งปัน 4.รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขสนุกสนาน 5.เด็กรู้จักชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่น