EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาลปีที่ 3     เวลา: 40 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางอนัญญา บุญแสนไชย | เมื่อ: 25-03-2022 16:54 | แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 25-03-2022 16:58

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

นิสัยรักความสะอาด

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

น้ำทะเทจะมีรสเค็ม น้ำจืดจะไม่มีรส

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การใช้ประสาทสัมผัส

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เพื่อให้เด็กมีนิสัยรักความสะอาดในการเก็บของทุกครั้งหลังการทดลอง

ผ่านกิจกรรม:

ผ่านกิจกรรมการทดลอง "ไข่จม ไข่ลอย"

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก ในการบันทึกผลการทดลอง และสรุปผลการทดลองด้วยตนเอง

อารมณ์-จิตใจ

การควบคุมอารมณ์

สังคม

การเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ

สติปัญญา

การสังเกต สนทนา และซักถาม

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

การสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง ออกมาในรูปของการวาดภาพจากผลการทดลอง และนำผลงานมาแสดงให้เพื่อนๆ ดู


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

น้ำทะเล จะมีรสเค็ม น้ำจืดจะไม่มีรสเค็ม ถ้าใส่เกลือลงในน้ำจืดจะทำให้น้ำเค็ม

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

ถ้านำแก้วมา 2 ใบ ใส่น้ำจืด 1 ใบ และใส่น้ำเค็ม 1 ใบ จากนั้นใส่ไข่ไก่ลงไปแก้วละ 1 ฟอง จะเกิดอะไรขึ้น สีของน้ำในแก้วจะเป็นอย่างไร ประมาณน้ำในแก้วจะเป็นอย่างไร

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อให้เด็กสังเกตลักษณะของไข่ และลักษณะของน้ำ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ
2 ขั้นสอน เพื่อให้เด็กได้ทดลองกิจกรรมด้วยตนเอง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ริเริ่มและลงมือทำ
3 ขั้นสรุป เพื่อศึกษาว่า น้ำจืดหรือน้ำเค็มที่ทำให้ไข่ลอยน้ำได้
สร้างเสริม EF ด้าน: จดจ่อใส่ใจ
4 การประเมินผล เด็กสามารถนำเสนอผลงานของตนเองได้
สร้างเสริม EF ด้าน: มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

ใบงาน(ใบบันทึกกิจกรรม)

สำหรับเด็ก:

ไข่ไก่ น้ำเปล่า เกลือ ยางรัด แก้วน้ำ ช้อน

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

ห้องที่สะอาด ปลอดภัย ไม่มีเสียงรบกวน และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

การจัดสภาพแวดล้อมที่น่าเรียน จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากเรียน อยากร่วมกิจกรรมการทดลอง

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

การทดลองเมื่อเด็กทำได้ควรมีการเสริมแรงให้เด็กเป็นการชมเชย หรือการพูดที่กระตุ้นให้เด็กมีกำลังใจในการอยากจะทำการทดลองหรือเรียน