EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: เล่นน้ำเล่นทราย

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อนุบาลปีที่ 3     เวลา: 25.00 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: นางวิภา เกษรจันทร์ | เมื่อ: 08-04-2022 14:00

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

มีความรับผิดชอบ รู้จักรักษาความสะอาด

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

วิธีการนำอุปกรณ์มาใช้งาน

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

การใช้มือในการจับวัสดุอุปกรณ์

เพื่อให้นำไปปฏิบัติได้ (Action)

สามารถเล่นน้ำเล่นทรายได้ถูกวิธีและตามขั้นตอน

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

สามารถใช้มือจับวัสดุอุปกรณ์ในการเล่นน้ำเล่นทรายได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เด็กเรียนรู้วิธีการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเล่นน้ำเล่นทราย

ผ่านกิจกรรม:

การเล่นน้ำเล่นทราย

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ อื่นๆ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ทำงานประสานสัมพันธ์กันกับสายตา หยิบจับวัสดุอุปกรณ์ได้โดยไม่ตกหล่น

อารมณ์-จิตใจ

มีสมาธิ จดจ่อในงานที่ทำ ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้

สังคม

เคารพสิทธิ์ของตนเองและผู้อื่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

สติปัญญา

รู้จักวางแผน และ รู้จักแก้ปัญหา ในการทำงานของตนเอง

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เด็กสามารถเล่นน้ำเล่นทรายด้วยตนเองได้ตามขั้นตอนและตามข้อตกลง


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กเคยใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเล่นน้ำเล่นทราย

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เด็กสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเล่นน้ำเล่นทรายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 ครูบอกชื่อสื่อและแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นน้ำเล่นทรายให้เด็กฟังและดู เด็กรู้จักชื่อวัสดุ อุปกรณ์ในการเล่นน้ำเล่นทราย
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 ครูสาธิตวิธีการขั้นตอนการเล่นน้ำเล่นทรายให้เด็กดู เด็กรับรู้ขั้นตอนและวิธีการเล่นน้ำเล่นทรายที่ถูกต้อง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 เด็กลงมือเล่นน้ำเล่นทรายด้วยตนเอง เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ ถึงวิธีการขั้นตอนการเล่นน้ำเล่นทราย
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

อุปกรณ์เล่นน้ำเล่นทรายชุดของเล่นพลาสติก ขนาดใหญ่พอเหมาะ

สำหรับเด็ก:

อุปกรณ์เล่นน้ำเล่นทรายชุดของเล่นพลาสติกขนาดเล็กเหมาะสมกับเด็ก

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

มีพื้นที่สำหรับกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก มีความปลอดภัย

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

เด็กได้เลือกและลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

คุณครูและเด็กๆให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือแนะนำกับเด็ก หรือเพื่อน ที่ยังขาดความมั่นใจหรือยังทำไม่คล่อง ด้วยคำพูดที่สุภาพน้ำเสียงอ่อนโยน และคุณครูชื่นชมเด็กที่ทำได้คล่องด้วยความจริงใจมีน้ำเสียงที่อ่อนโยน