EF Guideline
รู้จักเครื่องมือ ล็อกอิน

เครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามแบบ EF Guideline เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย

แผนกิจกรรม: พิมพ์ภาพจากปลายนิ้วมือ

ระดับชั้น/ช่วงวัย: อ.3     เวลา: 30 นาที


หากต้องการเซฟเป็นไฟล์ PDF ให้กดปุ่มแล้วเลือก Save to PDF แทนที่จะเลือกเครื่องพิมพ์


สร้างโดย: มาริตตา ธรรมสังวาลย์ | เมื่อ: 08-04-2022 20:59

ส่วนที่ 1 เป้าหมาย

ข้อ 1 จุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude)

มีเจตคติที่ดีต่อผลงานศิลปะของตนเอง และผู้อื่น

เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ (Knowledge)

มีการวางแผนก่อนการลงมือปฏิบัติกิจกรรม

เพื่อให้ได้ทักษะ (Skill)

เกิดทักษะการคิด จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ที่แปลกใหม่เพิ่มมากขึ้น

เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept)

สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตในอนาคต ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

ข้อ 2 ความคิดหลักในการออกแบบ

ให้เด็กเรียนรู้:

เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานศิลปะพิมพ์ภาพจากปลายนิ้วมือ

ผ่านกิจกรรม:

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ข้อ 3 มุ่งสร้างเสริม EF ในด้านต่างๆ

ทักษะพื้นฐาน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด

ทักษะกำกับตนเอง: จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง

ทักษะปฏิบัติ: ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

โดยให้เด็กได้รับการพัฒนา EF ผ่านโอกาสต่างๆ ดังนี้: ได้คิด ได้สงสัย ได้สังเกต ได้เลือก ตัดสินใจ วางแผน ได้ลงมือทำ ได้แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ผลการทำงานของตนเอง ได้เรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำวัน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้เรียนรู้ผ่านการบูรณาการประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งระบบเอ็นข้อต่อและระบบการทรงตัว ได้ฝึกทักษะด้านอารมณ์และสังคม; เข้าใจตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์ตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ได้ฝึกการจดจ่อใส่ใจ ได้ลองผิดลองถูก ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก้ปัญหา ได้รับแรงบันดาลใจ

ข้อ 4 พัฒนาการ 4 ด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา)

ร่างกาย

การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา การพัฒนากล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงมากขึ้น

อารมณ์-จิตใจ

ร่าเริงแจ่มใส มีความสุขกับงานศิลปะที่ลงมือทำด้วยตนเอง

สังคม

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่น และการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสนุกสนาน และปลอดภัย

สติปัญญา

มีความคิด จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์

ข้อ 5 พฤติกรรมเด็กที่คาดหวัง (Expected Behavior)

เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น


ส่วนที่ 2 กิจกรรม

ข้อ 6 ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

การใช้สีนำ้ และการใช้ปลายนิ้วมือแทนการใช้พู่กัน

ข้อ 7 ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ / ความท้าทายที่ต้องการให้เกิดในกิจกรรม เป็นอย่างไร

เกิดการท้ายทายคือ เด็กๆจะต้องวางแผนว่าจะใช้ปลายนิ้วใหน พิมพ์ภาพอะไร และ จะพิมพ์ลงตรงส่วนใหนของกระดาษ ถึงจะได้ภาพตามที่ต้องการ

ข้อ 8-9 ขั้นตอน / กระบวนการ และวัตถุประสงค์

ขั้นที่ การดำเนินการ วัตถุประสงค์
1 เด็กๆ ร้องเพลงนิ้วโป้งอยู่ไหน.? การร้องเพลง และการจดจำเนื้อเพลง
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
2 1. เด็กและครูร่วมกันสังเกตนิ้วมือตนเองทั้ง 10 นิ้ว 2. ครูแนะนำชื่อกิจกรรม การพิมพ์ภาพจากปลายนิ้วมือ 3. ครูแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการพิมพ์ภาพจากปลายนิ้วมือ 4. ครูสาธิตวิธีการทำกิจกรรม 5. เด็กๆ ออกแบบผลงานของตนเอง 6. เด็กๆ ลงมือทำกิจกรรมศิลปะการพิมพ์ภาพจากปลายนิ้วมือ 7. เด็กๆ นำเสนอผลงานของตนเองหน้าชั้นเรียน เด็กๆ ได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง ตามที่ได้ออกแบบไว้
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย
3 เด็กและครูร่วมกันสนทนาพูดคุยสรุปเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพจากปลายนิ้วมือ การทบทวนกิจกรรมที่ได้ลงมือทำ
สร้างเสริม EF ด้าน: จำเพื่อใช้งาน ยั้งคิด ไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด จดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ ติดตาม ประเมินตนเอง ริเริ่มและลงมือทำ วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ มุ่งเป้าหมาย

ข้อ 10 สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับครู:

1. เนื้อเพลงนิ้วโป้งอยูไหน.? 2. ปากกา สำหรับจดบันทึกคำบรรยายของผลงานเด็กๆ

สำหรับเด็ก:

1. สีนำ้ 2. จานสี 3. ฟองนำ้ 4. กระดาษ a4 5. ดินสอ 6. สีไม้ 7. ยางลบ 8. ผ้าเช็ดมือ

ข้อ 11 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

การจัดสภาพแวดล้อมทางกาย:

1. การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม 2. การแบ่งปันอุปกรณ์ระหว่างทำงานศิลปะ 3. การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นขณะลงมือทำกิจกรรม 4. การเก็บอุปกรณ์เข้าที่ และล้างมือด้วยนำ้ยาล้างมือหลังจากทำกิจกรรมเสร็จทุกครั้ง

การจัดสภาพแวดล้อมทางความคิด:

1. รู้จักวางแผนก่อนการทำกิจกรรมศิลปะ 2. มีความคิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ที่แปลกใหม่เพิ่มมากขึ้น 3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในอนาคตได้

การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตใจ:

1. มีความสุข กับกิจกรรมที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง 2. ร่าเริงแจ่มใส 3. สามารถคิดนอกกรอบได้ตามความต้องการตนเองโดยไม่มีขอบเขตกั้นความคิด 4. เป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มเพื่อนๆ